
พหุการธรรม 4 ประการ
พหุการธรรม คือ ธรรมมีอุปการะมาก เป็นเครื่องช่วยให้สามารถสร้างสมความดีอื่น ๆ ทุกอย่าง และช่วยให้ประสบ
ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต บรรลุความงอกงามไพบูลย์ มี 4 ประการ คือ
1. ปฏิรูปเทสวาสะ
ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในประเทศอันเหมาะสม หมายถึง การอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ดี ที่เหมาะสม เป็นสถานที่ที่มีลักษณะที่เอื้อต่อความเจริญงอกงาม 4 ลักษณะ คือ
- อาวาสสัปปายะ เป็นสถานที่มีสภาพแวดล้อมดี อยู่สบาย
- ปุคคลสัปปายะ เป็นสถานที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนดีมีศีลธรรม คือมากไปด้วยคนดี
- อาหารสัปปายะ เป็นสถานที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์
- ธัมมสัปปายะ เป็นสถานที่มีขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่ดีงาม และเหมาะแก่การศึกษาธรรมะ
การอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม อุดมด้วยคนดีมีศีลธรรม เป็นเหตุเอื้อต่อการสร้างคุณงามความดีประการหนึ่ง
2. สัปปุริสูปัสสยะ
สัปปุริสูปัสสยะ การคบสัตบุรุษ คือ การคบหากับบัณฑิตชนคนดี ในสังคมแต่ละสังคม ย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกันไป เราต้องรู้จักเลือกคบเฉพาะคนดีมีศีลธรรม เป็นบัณฑิตชนคนมีปัญญา สามารถแนะนำเราในทางที่ดีได้ การคบกับคนดีมีศีลธรรม เป็นเหตุเอื้อต่อการสร้างคุณงามความดีประการหนึ่ง
3. อัตตสัมมาปณิธิ
อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ คือ การตั้งตนไว้ในกรอบของศีลธรรม ตั้งใจนำตนไปให้ถูกทาง วางแผนชีวิต ตั้งเป้าหมายชีวิต และดำเนินชีวิต บนพื้นฐานของศีลธรรมอันดีของพุทธศาสนา และอยู่ในกรอบของกฎหมายบ้านเมือง ไม่ประพฤติตนนอกลู่นอกทาง ไม่ละเมิดศีลธรรมและกฎหมาย การดำรงตนอยู่ในหลักคุณธรรมศีลธรรมอันดี เป็นเหตุเอื้อต่อการสร้างคุณงามความดีประการหนึ่ง
4. ปุพเพกตปุญญตา
ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำบุญไว้ในกาลก่อน หรือ ความเป็นผู้ได้ทำดีไว้ก่อน คือ นอกจาก 3 ข้อข้างต้นนั้น ผู้ที่จะเจริญก้าวหน้าได้ ต้องมีบุญหรือความดีที่ได้เคยทำไว้ก่อนแล้ว อาจจะเป็นความดีในชาตินี้ เช่น ได้รับการอบรมมาดี มีการศึกษาดี เคยช่วยเหลือคนอื่นไว้มาก เป็นต้น หรืออาจจะเป็นความดีที่เคยทำไว้ในชาติก่อน ๆ ที่คอยช่วยส่งเสริม คือมีความดีหรือมีบุญเก่าเป็นทุนนั่นเอง ความเป็นผู้ได้ทำบุญไว้ในกาลก่อน ก็เป็นเหตุเอื้อต่อการสร้างคุณงามความดีประการหนึ่ง
พหุการธรรมทั้ง 4 ประการนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จักร 4
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ