
เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมฺเปติ ฐานํ.
[คำอ่าน : เสด-ถัน-ทะ-โท, เสด-ถำ-เป-ติ, ถา-นัง]
“ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ”
(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖)
ฐานะที่ประเสริฐ หมายถึง ตำแหน่ง หน้าที่การงาน ยศถาบรรดาศักดิ์ ที่เป็นที่นับหน้าถือตาในสังคม คนทั่วไปให้ความเคารพนับถือ คือเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคมนั่นเอง
ผู้ที่จะถึงฐานะที่ประเสริฐดังกล่าวนั้นได้ ย่อมมาจากการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ เช่น สละทรัพย์ทำบุญทำกุศลเป็นจำนวนมาก เวลาให้ก็ให้เยอะกว่าคนอื่น มีจิตใจเสียสละ ยินดีสละเวลาส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของสัมคม เป็นต้น
ผู้ที่มีลักษณะดังกล่าว ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคมคนหมู่มาก เป็นผู้คู่ควรแก่เกียรติยศชื่อเสียง คู่ควรแก่ตำแหน่งหน้าที่การงานที่เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ให้นั้นต้องเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยความสุจริต ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยทุจริต การให้นั้นจึงจะบริสุทธิ์ และการให้นั้นต้องเป็นการให้ที่ไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน การให้นั้นจึงจะเป็นการให้ที่ชาญฉลาด คือการให้ต้องประกอบด้วยปัญญาด้วยนั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา