
ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญานํ.
[คำอ่าน : รา-ชา, รัด-ถัด-สะ, ปัน-ยา-นัง]
“พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น”
(สํ.ส. ๑๕/๕๗)
พระราชา คือเจ้าแห่งนคร เป็นเจ้าแผ่นดิน เป็นผู้ปกครองประเทศ เป็นที่พึ่งของประชาชนทั้งหลายในประเทศนั้น ๆ พระราชาจึงต้องเป็นผู้ทรงศีลทรงธรรม และมีปรีชาสามารถ
ประเทศใดที่มีพระราชาผู้ทรงทศพิธราชธรรม มีความรู้ความสามารถในการปกครองประเทศ มีความเข้มแข็ง ประเทศนั้นจะเจริญรุ่งเรือง และเป็นที่เชิดหน้าชูตา เป็นที่รู้จักและได้รับความยกย่องจากคนในประเทศอื่น ๆ
แต่หากพระราชาไม่ทรงทศพิธราชธรรมและไม่มีความสามารถในการปกครองประเทศแล้ว คนทั้งหลายในประเทศนั้น ๆ ย่อมจะได้รับความเดือดร้อน ยากจนข้นแค้น อีกทั้งได้รับความอับอายอีกด้วย
ดังนั้น พระราชาจึงถือว่าเป็นที่ปรากฏของประเทศนั้น ๆ เพราะประเทศนั้น ๆ จะได้รับการยอมรับจากประเทศอื่น ๆ มากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่ที่พระราชาผู้ปกครองประเทศ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา