
สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก.
[คำอ่าน : สับ-พัง, รัด-ถัง, สุ-ขัง, โห-ติ, รา-ชา, เจ, โห-ติ, ทำ-มิ-โก]
“ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข”
(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๙๙, ขุ.ชา.จตุกฺก. ๒๗/๑๕๒)
ผู้ที่เป็นพระราชา จะต้องประกอบด้วยทศพิธราชธรรม จึงจะสามารถได้รับการยอมรับนับถือและเป็นที่เคารพรักของประชาชน
ทศพิธราชธรรมนั้นมีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
- บริจาคทาน
- รักษาศีล
- สละทรัพย์เพื่อสาธารณประโยชน์
- มีพระอัธยาศัยอ่อนโยน
- เพียรข่มธรรมฝ่ายต่ำ
- ไม่ขัดเคืองง่าย
- ไม่เบียดเบียน
- มีความอดทน
- มีความยุติธรรม
- มีความซื่อตรง
เมื่อพระราชาทรงดำรงพระองค์อยู่ในธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ ย่อมจะทรงได้รับความเคารพนับถือจากปวงชนเป็นอย่างมาก
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา