
เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุ 4 ประการ ที่ทำให้ตระกูลที่ร่ำรวยต้องพบกับความพินาศหรือพบกับความยากจน เป็นธรรมสำหรับเตือนสติผู้ครองเรือน เพื่อให้หลีกเลี่ยงการกระทำ 4 อย่างนี้ จะได้รักษาตระกูลเอาไว้ได้ ไม่ต้องพบกับความพินาศย่อยยับ ธรรม 4 ประการนั้นคือ
1. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายไป
เมื่อสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้านหรือทรัพย์สมบัติหายไปแล้ว ไม่รู้จักแสวงหาเพื่อให้ได้มาคืน หรือใช้สอยหมดไปแล้ว ไม่รู้จักแสวงหามาทดแทน ของเก่าย่อมหมดไป ของใหม่ไม่มีมาทดแทน ไม่นานทรัพย์สินสมบัติย่อมหมดไป
2. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า
วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ ภายในบ้าน เมื่อเก่าแล้วก็ไม่ยอมซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้ หรือของใหม่ ๆ ก็ไม่รักษาทะนุถนอม ไม่นานของนั้นก็ต้องผุพังไปตามเวลา และก็ต้องหาซื้อมาใช้ใหม่ เป็นการสิ้นเปลืองทรัพย์สินเงินทอง
3. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
ใช้จ่ายทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ให้สิ้นเปลืองไปโดยไม่รู้จักประมาณ ใช้จ่ายโดยไม่คำนึงถึงรายรับ หรือใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่รู้จักประหยัดมัธยัตถ์ ไม่นานทรัพย์สินที่มีอยู่ย่อมหมดไป
4. ตั้งสตรีหรือบุรุษผู้ทุศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน
ยกบุคคลผู้มีความประพฤติไม่ดี ไม่ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม ให้เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือเป็นผู้นำตระกูล เช่น ให้คนที่ติดการพนัน ติดอบายมุขต่าง ๆ เป็นหัวหน้าครอบครัว คนเช่นนั้นย่อมจะผลาญทรัพย์ให้หมดสิ้นไปโดยเวลาอันรวดเร็ว
ตระกูลใดที่ดำรงตนอยู่ในเหตุแห่งความเสื่อม 4 ประการนี้ ไม่นานตระกูลนั้นย่อมจะต้องพบกับความพินาศอย่างแน่นอน หากต้องการให้ตระกูลยังคงความมั่งคั่งไว้ได้ ต้องดำรงตนอยู่ในกุลจิรัฏฐิติธรรม
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ