
อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
ไม่ว่าจะทำการใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือต้องมีหลักการ การแสดงธรรมก็เช่นกัน ต้องมีหลักจึงจะสามารถแสดงธรรมให้ได้ผลสัมฤทธิ์ได้
พระพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ใครก็ตาม พระองค์มีหลักในการแสดงธรรมอยู่ 3 ประการ ซึ่งหลักทั้ง 3 ประการนี้เอง ทำให้พระองค์ได้รับการยอมรับนับถือจากผู้ที่ได้ฟังธรรมจากพระองค์ และผู้ที่ฟังธรรมจากพระองค์ก็ได้รับผลสัมฤทธิ์จากการฟังนั้นด้วย ดังที่พระองค์ได้เคยทรงยกหลักการแสดงธรรมของพระองค์ให้ภิกษุทั้งหลายได้ฟังว่า
อภิญฺญายาหํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสมิ โน อนภิญฺญาย, สนิทานาหํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสมิ โน อนิทานํ, สปฺปาฏิหาริยํ ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสมิ โน อปฺปาฏิหาริยํ.
ซึ่งแปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่ใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราแสดงธรรมอันมีเหตุผล ไม่ใช่แสดงธรรมอันไม่มีเหตุผล เราแสดงธรรมอันมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมอันไม่มีปาฏิหาริย์”
หลักทั้ง 3 ประการนั้น มีดังนี้
1. อภิญญายธัมมเทสนา
อภิญญายธัมมเทสนา แปลว่า ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง หมายถึง การตั้งเป้าหมายก่อนการแสดงธรรม คือพระองค์จะทรงแสดงธรรมแต่ละครั้ง พระองค์จะตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่า ผู้ฟังจะต้องได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟังธรรมของพระองค์ ผู้ฟังจะต้องรู้แจ้งเห็นจริงตามธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ตามกำลังแห่งสติปัญญาของผู้ฟังคนนั้น ๆ
ดังนั้น เมื่อพระองค์จะทรงแสดงธรรมแก่ใครก็ตาม พระองค์จะทรงพิจารณาดูก่อนว่า ผู้นั้นมีอุปนิสัยอย่างไร ธรรมะข้อไหนจึงจะเหมาะกับอุปนิสัยของผู้ฟังคนนั้น แล้วเลือกหัวข้อธรรมข้อนั้นมาแสดงเพื่อให้เหมาะกับอุปนิสัยของผู้ฟังคนนั้น จึงทำให้ผู้ฟังสามารถรู้แจ้งเห็นจริงตามธรรมที่พระองค์ทรงแสดงได้
2. สนิทานธัมมเทสนา
สนิทานธัมมเทสนา แปลว่า ทรงแสดงธรรมอันมีเหตุผล หมายถึง พระองค์ทรงแสดงธรรมที่มีเหตุผลรองรับ สามารถพิสูจน์ได้ สามารถพิจารณาไตร่ตรองตามให้เห็นตามความเป็นจริงได้ ไม่ใช่แสดงธรรมแบบเลื่อนลอย ไม่มีหลัก ไร้เหตุผล
ธรรมะที่พระองค์ทรงแสดงนั้นเป็นหลักธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ สามารถรู้แจ้งเห็นจริงได้ ไม่ได้สอนให้เชื่อแบบงมงายไร้เหตุผล
3. สัปปาฏิหาริยธัมมเทสนา
สัปปาฏิหาริยธัมมเทสนา แปลว่า ทรงแสดงธรรมอันมีปาฏิหาริย์ หมายถึง พระองค์ทรงแสดงธรรมให้เห็นจริง ได้ผลจริง เป็นอัศจรรย์ เมื่อผู้ฟังได้รับฟังและน้อมนำไปปฏิบัติตาม ย่อมสามารถเห็นผลจากการปฏิบัติได้อย่างน่าอัศจรรย์ ธรรมะที่พระองค์สอนนั้น สามารถเปลี่ยนคนชั่วให้เป็นคนดีได้ สามารถเปลี่ยนปุถุชนคนธรรมดาให้กลายเป็นพระอริยบุคคลได้ นั่นคือความอัศจรรย์แห่งธรรมที่พระองค์ทรงแสดง
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ