
โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
โอวาทของพระพุทธเจ้า หรือ พุทธโอวาท หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า หมายเอาคำสอนที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ตรัสสอนเหล่าพุทธสาวก ถือเป็นคำสอนที่ประมวลคำสอนทั้งหมดมารวมกันไว้ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคำสอนที่เป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนา มี 3 ประการ ซึ่งคำสอน 3 ข้อนี้ รวมอยู่ใน โอวาทปาฏิโมกข์ ที่ทรงแสดงแก่พระภิกษุ 1,250 รูป ในวันเพ็ญเดือน 3 ประกอบด้วย
1. สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง
การไม่ทำบาปทั้งปวง หมายถึง การไม่ทำความชั่วอันจะเป็นเหตุให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยความหมายก็คือ ให้เว้นขาดจากทุจริต 3 ประการ คือ
กายทุจริต 3
กายทุจริต หมายถึง การประพฤติชั่วทางกาย คือความชั่วที่กระทำหรือแสดงออกทางกาย 3 อย่าง ได้แก่
- ปาณาติบาต คือ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
- อทินนาทาน คือ การลักทรัพย์
- กาเมสุมิจฉาจาร คือ การประพฤติผิดในกาม
วจีทุจริต 4
วจีทุจริต หมายถึง การประพฤติชั่วทางวาจา คือความชั่วที่กระทำหรือแสดงออกทางวาจาหรือคำพูด 4 อย่าง ได้แก่
- มุสาวาท คือ การพูดเท็จ
- ปิสุณวาจา คือ การพูดส่อเสียด
- ผรุสวาจา คือ การพูดคำหยาบ
- สัมผัปปลาป คือ การพูดเพ้อเจ้อ
มโนทุจริต 3
มโนทุจริต หมายถึง การประพฤติชั่วทางใจ คือความชั่วที่กระทำหรือแสดงออกทางใจคือความคิด 3 อย่าง ได้แก่
- อภิชฌา คือ โลภอยากได้ของคนอื่น
- พยาบาท คือ คิดปองร้ายคนอื่น
- มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดจากคลองธรรม
ทุจริต 3 ข้อใหญ่ 10 ข้อย่อยนี้ รวมเรียกว่า อกุศลกรรมบถ 10 การไม่ทำอกุศลกรรมบถทั้ง 10 ข้อนี้ ชื่อว่า การไม่ทำบาป

2. กุสะลัสสูปะสัมปะทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำกุศลให้ถึงพร้อม หมายถึง การสั่งสมอบรมคุณงามความดีให้มีในตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะนอกจากการไม่ทำบาปแล้ว ต้องทำความดีควบคู่กันไปด้วย ความดีหรือบารมีธรรมจึงจะเกิด
การทำกุศลให้ถึงพร้อม หรือการทำความดีให้ถึงพร้อมนั้น ก็หมายถึงการทำสุจริต 3 ประการ คือ
กายสุจริต 3
กายสุจริต ความประพฤติดีทางกาย หมายถึง ความดีที่กระทำหรือแสดงออกทางกาย 3 อย่าง ได้แก่
- ปาณาติปาตา เวรมณี คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
- อทินนาทานา เวรมณี คือ งดเว้นจากการลักทรัพย์
- กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี คือ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
วจีสุจริต 4
วจีสุจริต ความประพฤติดีทางวาจา หมายถึง ความดีที่กระทำหรือแสดงออกทางวาจาหรือคำพูด 4 อย่าง ได้แก่
- มุสาวาทา เวรมณี คือ เว้นจากการพูดปด
- ปิสุณาย วาจาย เวรมณี คือ เว้นจากการพูดส่อเสียด
- ผรุสาย วาจาย เวรมณี คือ เว้นจากการพูดคำหยาบ
- สัมผัปปลาปา เวรมณี คือ เว้นจากการพูดจาเพ้อเจ้อ
มโนสุจริต 3
มโนสุจริต ความประพฤติดีทางใจ หมายถึง ความดีที่กระทำหรือแสดงออกทางใจคือความคิด 3 อย่าง ได้แก่
- อนภิชฌา คือ ไม่โลภอยากได้ของคนอื่นมาครอบครอง
- อพยาบาท คือ ไม่พยาบาทปองร้ายคนอื่น
- สัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นถูกต้องตามธรรม
สุจริต 3 ข้อใหญ่ 10 ข้อย่อย นี้ รวมเรียกว่า กุศลกรรมบถ 10 การดำเนินตามกุศลกรรมบถทั้ง 10 ประการนี้ ชื่อว่า การทำกุศลให้ถึงพร้อม

3. สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้ผ่องใส
การชำระจิตของตนให้ผ่องใส หมายถึง การทำให้จิตของตนสะอาดหมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย อันหมายถึงการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จนสามารถบรรลุอริยมรรคอริยผล ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค เป็นเบื้องต้น จนถึงที่สุดคืออรหัตตผล ซึ่งเป็นจุดจบแห่งทุกข์ทั้งปวง
ซึ่งโอวาทข้อสุดท้ายนี้ คือเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พึงตระหนักในการทำตามพุทธโอวาททั้ง 3 ข้อนี้อย่างแน่วแน่ เพราะจะเป็นคุณงามความดีแก่ตนเอง และจะเป็นทางพาตนให้พ้นทุกข์ในวัฏสงสารได้ในที่สุด
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ