
ธมฺมปีติ สุขํ เสติ.
[คำอ่าน : ทำ-มะ-ปี-ติ, สุ-ขัง, เส-ติ]
“ผู้มีปีติในธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข”
(ขุ.ธ. ๒๕/๒๕)
บุคคลผู้มีปีติในธรรม คือมีความอิ่มใจในธรรม ปฏิบัติธรรมแล้วเกิดปีติขึ้นมา ลักษณะนี้เรียกว่ามีปีติในธรรม บุคคลประเภทนี้ย่อมจะอยู่ด้วยความเป็นสุข ไม่ทุกข์ไม่ร้อน เพราะอำนาจของปีติทำให้มีความสุขอยู่เสมอ
บุคคลผู้ที่จะมีปีติในธรรมได้นั้น จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ละเว้นความชั่วทั้งปวงบรรดามี ทำแต่ความดี รักษาศีล และหมั่นเจริญภาวนาอยู่เป็นประจำ
เมื่อหมั่นปฏิบัติธรรมภาวนาอยู่อย่างนี้ จิตใจก็จะบริสุทธิ์ขึ้น สงบเป็นสมาธิ และอำนาจของสมาธิ ก็จะทำให้เกิดปีติขึ้นมาได้ เมื่อเกิดปีติขึ้นมา ก็จะมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจากปีติ เป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขที่เราปรุงแต่งเอง
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การประพฤติธรรม เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสุขแก่ผู้ประพฤติ เพราะเมื่อประพฤติปฏิบัติธรรมจนจิตใจบริสุทธิ์และเป็นสมาธิขึ้นมาระดับหนึ่ง ย่อมทำให้เกิดปีติดังกล่าว ปีติตัวนั้นเองทำให้เกิดความสุข เป็นความสุขในธรรม
หรือถึงแม้ว่าปีติจะไม่เกิด แต่การประพฤติธรรมก็ยังทำให้เกิดความสุขได้อยู่นั่นเอง เพราะการประพฤติธรรม เป็นการประพฤติตามวิถีที่เป็นทางออกจากทุกข์ เป็นวิถีที่ออกจากอบายมุขอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรม จึงอยู่เป็นสุข ยิ่งประพฤติธรรมจนเกิดปีติ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นไปอีก
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา