
วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี.
[คำอ่าน : วิ-หัน-ยะ-ตี, จิด-ตะ-วะ-สา-นุ-วัด-ตี]
“ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมลำบาก”
(ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๙๐)
ธรรมชาติของจิต ย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอ คือยินดีในสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เหมือนน้ำ ถ้าปล่อยไว้ตามธรรมดา ย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่ตลอดเวลา ไม่มีทางเลยที่น้ำจะไหลขึ้นสู่ที่สูงตามธรรมดาของตนเอง เว้นไว้แต่จะใช้เครื่องสูบน้ำมาสูบมันขึ้นในที่สูงเท่านั้น
บุคคลผู้ประพฤติตามอำนาจของจิต ก็ย่อมประพฤติตามสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ โดยไม่ได้คำนึงว่าสิ่งนั้นจะต่ำหรือจะสูง จะดีหรือจะไม่ดี ขอให้ได้ทำตามที่ปรารถนาเท่านั้นก็เป็นอันว่าใช้ได้
เมื่อประพฤติตามอำนาจของจิตเช่นนี้ ย่อมเสี่ยงที่จะทำความผิด สร้างความฉิบหายเดือดร้อนให้กับตนเองและสังคม เมื่อทำตามอำนาจของจิตอย่างนี้ ย่อมไม่วายที่จะได้รับความเดือดร้อนจากสิ่งที่จิตสั่งการให้ทำ
ดังนั้น ท่านจึงแนะนำให้เราฝึกชำระจิตของตนเองให้สะอาดปราศจากมลทินคือกิเลสอยู่เสมอ จะได้ไม่ยินดีในสิ่งที่ต่ำ ๆ อันจะนำความทุกข์มาสู่ตนเองและสังคม
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา