
สมาธิ 3 ประการ
สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต อาการที่จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แบ่งเป็นสมาธิในสมถะ หรือสมาธิที่เกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน อย่างหนึ่ง สมาธิในวิปัสสนา หรือสมาธิที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อย่างหนึ่ง
สมาธิ ในที่นี้ หมายเอาสมาธิในวิปัสสนา หรือสมาธิที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาพระไตรลักษณ์ที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น เป็น 3 ประการ คือ
1. สุญญตสมาธิ
สุญญตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยการกำหนดอนัตตลักษณะ พิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นของว่างเปล่า คือการกำหนดยกเอานามรูปขึ้นพิจารณาให้เห็นความเป็นอนัตตาคือความไม่มีตัวตน ว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นเพียงสิ่งที่เกิดจากปัจจัยอาศัยกัน ไม่อาจบังคับให้เป็นอย่างโน้นอย่างนี้ตามใจเราได้
เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้วก็ถ่ายถอนความยึดถือด้วยอำนาจความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวเป็นตนเสียได้ สุดท้ายก็เข้าถึงสุญญตวิโมกข์
2. อนิมิตตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาเห็นธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยการกำหนดอนิจจลักษณะ กำหนดพิจารณานามรูปโดยความเป็นของหานิมิตมิได้ คือการกำหนดยกเอานามรูปขึ้นพิจารณาให้เห็นความเป็นอนิจจัง คือความไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถหานิมิตคือจุดที่แสดงความเที่ยงแท้แน่นอนได้ มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ก็สามารถถ่ายถอนวิปัลลาสคือความเห็นที่คลาดเคลื่อจากความเป็นจริงในนามรูปเสียได้ สุดท้ายก็เข้าถึงอนิมิตตวิโมกข์
3. อัปปณิหิตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ คือ สมาธิอันพิจารณาเห็นธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยการกำหนดทุกขลักษณะ คือการกำหนดยกเอานามรูปขึ้นพิจารณาให้เห็นทุกขตาคือความเป็นทุกข์ เห็นว่านามรูปทั้งหลายถูกอนิจจตาบีบคั้นให้ไม่สามารถคงอยู่สภาพเดิมได้
เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วก็ถ่ายถอนตัณหาราคะ คลายความยึดถือนามรูปด้วยอำนาจแห่งความทะยานอยากปรารถนาเสียได้ คือหมดความปรารถนา หมดความทะยานอยากในรูปนาม และเข้าถึงอัปปณิหิตวิโมกข์ในที่สุด
ไตรลักษณ์ทั้ง 3 ประการ คือ อนิจจตา ทุกขตา และ อนัตตตา เป็นธรรมที่เชื่อมโยงกัน เมื่อพิจารณาเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจนแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้พิจารณาเห็น 2 ข้อที่เหลืออย่างแจ่มแจ้งชัดเจนตามไปด้วย
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ