
อริยบุคคล 4 ประเภท
อริยบุคคล คือ บุคคลผู้ประเสริฐ ผู้ที่เป็นอารยะในความหมายของพระพุทธศาสนา แบ่งตามระดับชั้นการบรรลุธรรมหรือการละสังโยชน์ได้ เป็น 4 ประเภท คือ
- โสดาบัน
- สกทาคามี
- อนาคามี
- อรหันต์
1. โสดาบัน
โสดาบัน แปลว่า ผู้ถึงกระแส คือ ผู้เข้าถึงกระแสที่จะนำไปสู่พระนิพพาน เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคมีองค์ 8 มีศีลสมบูรณ์ เจริญกรรมฐานจนสามารถละสังโยชน์เบื้องต้นได้ 3 ประการ คือ
- สักกายทิฏฐิ ความเห็นอันเป็นเหตุถือตัวถือตน
- วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
- สีลัพพตปรามาส การถือศีลและวัตรแบบงมงาย
2. สกทาคามี
สกทาคามี แปลว่า ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว คือ ผู้กลับมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว พระสกทาคามีนี้ หากยังไม่สามารถบรรลุเป็นพระอนาคามีได้ในชาตินี้ เมื่อตายไปแล้วจะกลับมาเกิดในโลกมนุษย์นี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจะบรรลุอรหัตตผลในชาตินั้น
พระสกทาคามี นอกจากจะละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ 3 ประการแล้ว ยังสามารถบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลงด้วย
พระสกทาคามีนี้ ในบาลีมิได้แยกประเภทไว้ แต่ในคัมภีร์รุ่นหลังแยกประเภทไว้หลายอย่าง เช่น ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา แยกไว้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้ได้บรรลุผลนั้น ในกามภพ 1 ในรูปภพ 1 ในอรูปภพ 1
ในคัมภีร์ปรมัตถมัญชุสา จำแนกไว้ 5 ประเภท คือ
- ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในโลกนี้เอง
- ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในเทวโลก
- ผู้บรรลุในเทวโลกแล้ว ปรินิพพานในเทวโลกนั้นเอง
- ผู้บรรลุในเทวโลกแล้ว เกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน
- ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ไปเกิดในเทวโลกหมดอายุแล้ว กลับมาเกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน
3. อนาคามี
อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก คือ ผู้ไม่กลับมาเกิดในกามภพอีกแล้ว ความหมายคือ พระอนาคามีนี้ หากท่านไม่สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในชาตินี้ เมื่อท่านสิ้นอายุขัยไปแล้ว ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภพอีก แต่จะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส และจะบรรลุอรหัตตผลในพรหมโลกชั้นนั้น
พระอนาคามี สามารถละสังโยชน์ได้เพิ่มเติมอีก 2 ประการ คือ
- กามราคะ ความพอใจรักใคร่ในกามคุณ
- ปฏิฆะ ความขัดเขืองใจ
สรุปว่า พระอนาคามี สามารถละสังโยชน์เบื่องต่ำ 5 ประการได้เด็ดขาด
4. อรหันต์
อรหันต์ แปลว่า ผู้ห่างไกลจากกิเลส ผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ที่เหลืออีก 5 ประการได้ทั้งหมด คือ
- รูปราคะ ความกำหนัดในรูปภพ
- อรูปราคะ ความกำหนัดในอรูปภพ
- มานะ ความถือตัว
- อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
- อวิชชา ความไม่รู้
พระอรหันต์ ถือว่าเป็นผู้สำเร็จกิจแล้ว กำจัดกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว เมื่อท่านนิพพานแล้ว จะไม่เกิดอีก
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ