
เทวทูต 3 ประการ
เทวทูต คือ ทูตของยมเทพ หรือ สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู หมายถึง สิ่งที่เป็นสัญญาณเตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิตอันมีความตายเป็นที่สุด เพื่อจะได้เกิดความสลดสังเวชและไม่ประมาท จะได้เร่งขวนขวายทำความดี จำแนกเป็น 3 ประเภทบ้าง 4 ประเภทบ้าง 5 ประเภทบ้าง ในที่นี้จะกล่าวถึงเทวทูต 3 คือ
1. ชิณณะ
ชิณณะ คือ คนแก่ เป็นคนที่ผ่านการใช้ชีวิตมามากแล้ว ผ่านปฐมวัย และมัชฌิมวัยมาแล้ว อยู่ในช่วงปัจฉิมวัย คือวัยสุดท้ายของชีวิต เนื้อหนังมังสาก็เหี่ยวย่น หูตาเริ่มไม่ดี ความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง เคลื่อนไหวเชื่องช้า ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลง ไม่กระฉับกระเฉง แม้เรี่ยวแรงในการทำบุญทำกุศลก็น้อยตามไปด้วย อีกทั้งใกล้ความตายเข้าไปทุกขณะ
คนแก่ เป็นสัญญาณเตือนให้เราเห็นว่า สังขารไม่เที่ยง และเกิดความสลดสังเวช ควรเร่งขวนขวายสร้างกุศลในขณะที่ยังไม่แก่ จะได้ไม่เสียใจเมื่อแก่ตัวมาแล้วสร้างกุศลไม่ค่อยได้เพราะไม่มีเรี่ยวแรง
2. พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ
พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ คือ คนเจ็บ หรือคนป่วย หมายถึง คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยเพราะโรคภัยเบียดเบียน ท่านว่าร่างกายนี้เป็นรังแห่งโรค ไม่ป่วยเป็นโรคอย่างหนึ่งก็ต้องเป็นอย่างหนึ่ง เมื่อถึงคราวเจ็บไข้ได้ป่วยก็เบาบ้างหนักบ้าง บางครั้งเกือบถึงตาย หรือบางคนก็ตายก่อนที่จะแก่ เพราะความเจ็บไข้นี่เอง
คนเจ็บป่วย เป็นสัญญาณเตือนเราให้เห็นถึงความเป็นทุกข์ของชีวิต เพราะทุกคนจะต้องประสบเหมือนกันหมด ต่างที่จะหนักหรือเบาเท่านั้น จึงต้องรีบขวนขวายสร้างคุณงามความดีก่อนที่ความเจ็บไข้ได้ป่วยจะมาคร่าชีวิต
3. มตะ
มตะ คือ คนตาย สัตว์ทั้งหลายตายด้วยสาเหตุหลายอย่าง บ้างก็ตายเพราะโรค บ้างก็ตายเพราะแก่ตามกาลเวลา บ้างก็ตายเพราะถูกทำลายชีวิต และตายในวัยต่าง ๆ กัน บ้างก็ตายตั้งแต่อยู่ในท้องมารดา บ้างก็ตายในปฐมวัย บ้างก็ตายในมัชฌิมวัย บ้างก็ตายในปัจฉิมวัย
คนตาย เป็นสัญญาณเตือนให้เรารู้ว่า เราทุกคนเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า คือจะต้องตายกันทุกคน จะตายช้าตายเร็วก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ที่แน่ ๆ คือ เราไม่รู้ว่าเราจะตายเมื่อไหร่ ตายช้าหรือตายเร็ว ดังนั้น ควรเร่งขวนขวายสร้างคุณงามความดีเอาไว้ให้มากที่สุด ก่อนที่จะถึงวันนั้น คือวันที่เราจะต้องตายจากโลกนี้ไป
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ