
ทิฏฐิ 3 ประการ
ทิฏฐิ คือ ความเห็น ในที่นี้หมายเอามิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด ได้แก่ความเห็นที่ขัดกับหลักพุทธศาสนา ความเห็นที่ตรงกันข้ามกับความเป็นจริง เป็นความเห็นที่ควรละเสีย มี 3 ประการ คือ
1. อกิริยทิฏฐิ
อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ความเห็นว่าการกระทำไม่มีผล บุคคลที่มีทิฏฐิเช่นนี้ จะมีความเห็นว่า การกระทำทั้งหลายไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม ไม่มีผลแก่ผู้กระทำ ผู้ทำไม่ต้องรับผลของการกระทำนั้น
ทิฏฐิข้อนี้ขัดกับหลักพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนาสอนเรื่องกฎแห่งกรรม บุคคลกระทำกรรมใด ๆ ลงไป จะดีหรือชั่วก็ตาม จะต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นแน่นอน
2. อเหตุกทิฏฐิ
อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ความเห็นว่าหาเหตุมิได้ บุคคลที่มีความเห็นเช่นนี้ จะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่เป็นอยู่ ล้วนแต่เกิดขึ้นมาเอง เป็นขึ้นมาเอง ไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด คนจะสุขก็สุขเอง คนจะทุกข์ก็ทุกข์เอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุหรือการกระทำใด ๆ
ทิฏฐิข้อนี้ขัดกับหลักพุทธศาสนา เพราะขัดกับหลักอิทัปปัจจยตา พุทธศาสนาสอนว่า สิ่งทั้งปวงล้วนอาศัยกันเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยทำให้เกิด
3. นัตถิกทิฏฐิ
นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คนที่มีความเห็นเช่นนี้ จะเห็นว่าการกระทำไม่มี ผลของการกระทำก็ไม่มี ไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้ เป็นความเห็นที่ปฏิเสธเหตุและผล เห็นว่าบุญบาปไม่มี มารดาบิดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี เป็นต้น
ทิฏฐิข้อนี้ขัดกับหลักพุทธศาสนา เพราะปฏิเสธสมมติสัจจะและคติธรรมดาอันเนื่องด้วยเหตุและผลคือกัมมัสสกตา ผิดจากคติแห่งพุทธศาสนาที่ยอมรับสมมติสัจจะและคติแห่งกัมมัสสกตา
ทิฏฐิทั้ง 3 ประการนี้ จัดเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ คือเป็นความเห็นผิดที่ดิ่งลงไป ยากที่จะถ่ายถอนได้ และมีโทษหนักอย่างยิ่ง
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ