
เวปุลละ 2 ประการ
เวปุลละ แปลว่า ความไพบูลย์ ความเต็มเปี่ยม ความเต็มที่ หรือความรุ่งเรือง แบ่งเป็น 2 ประการ คือ
1. อามิสเวปุลละ
อามิสเวปุลละ คือ ความไพบูลย์แห่งอามิส หมายถึง ความเต็มเปี่ยมหรือความรุ่งเรืองด้วยวัตถุ หรือความเจริญด้วยวัตถุ ถ้าหมายเอาบุคคลก็คือบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง มีวัตถุสิ่งของใช้สอยไม่ขาดแคลน ถ้าหมายเอาสถานที่ก็คือสถานที่ที่เจริญรุ่งเรืองด้วยธุรกิจและวัตถุทั้งหลาย เป็นสถานที่ที่ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีฐานะมั่นคง
2. ธัมมเวปุลละ
ธัมมเวปุลละ คือ ความไพบูลย์แห่งธรรม หมายถึง ความเต็มเปี่ยมหรือความรุ่งเรืองด้วยธรรมะ ถ้าหมายเอาบุคคลก็คือบุคคลผู้มีศีลธรรม หรือสูงขึ้นไปอีกคือผู้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมขั้นสูง ถ้าหมายเอาสถานที่ ก็คือสถานที่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองด้วยธรรม เป็นสถานที่ที่คนทั้งหลายใช้ชีวิตภายใต้หลักศีลธรรมอันดี ผู้คนมีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดในการดำรงชีวิต อยู่ร่วมกันด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย และมีแหล่งศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมอย่างเพียบพร้อม
ในเวปุลละทั้ง 2 อย่างนั้น อามิสเวปุลละ ช่วยให้ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดี ธัมมเวปุลละ ช่วยให้ผู้คนมีความสุขความเจริญทางด้านจิตใจ
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ