
ยตฺถ เวรี นิวีสติ น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต.
[คำอ่าน : ยัด-ถะ, เว-รี, นิ-วี-สะ-ติ, นะ, วะ-เส, ตัด-ถะ, ปัน-ทิ-โต]
“ไพรีอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น”
(ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๓๔)
คำว่า ไพรี มาจากคำว่า เวรี ซึ่งแปลว่า คนมีเวร หมายถึง คนที่จองเวรจองกรรมกับเรา คนประเภทนี้ ย่อมคิดแต่จะทำลายเรา สร้างความเสื่อมให้กับเรา ขัดขวางเราไม่ให้มีความสุขความเจริญ หรืออาจถึงขั้นปองร้ายหมายชีวิตเราเลยก็เป็นได้
การอยู่ในสถานที่ที่มีไพรีหรือเวรีชนเช่นนั้น ย่อมจะมีแต่ความทุกข์ความฉิบหาย เพราะโดนเวรีชนปองร้ายอยู่ตลอดเวลา หาความสุขมิได้เลย
ดังนั้น บัณฑิตชนผู้มีปัญญา ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ในสมาคมหรือสถานที่ที่มีเวรีชน ไปอยู่ในสมาคมหรือสถานที่ที่ไม่มีเวรีชนเช่นนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาในภายหลัง
เมื่อทำเช่นนี้ ชีวิตของเขาย่อมจะไกลจากปัญหาที่จะเกิดจากเวรีชน และมีความสุขความเจริญตามมา
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา