
เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต.
[คำอ่าน : เน-สา, สะ-พา, ยัด-ถะ, นะ, สัน-ติ, สัน-โต]
“สัตบุรุษไม่มีในชุมชนใด ชุมชนนั้นไม่ชื่อว่าสภา”
(ขุ.ชา.อสีติ. ๒๘/๑๕๑, สํ.ส. ๑๕/๒๗๐)
สภา คือสถานที่ที่มีเกียรติ เป็นสถานที่ที่รักษาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของส่วนรวม ดังนั้น สมาชิกในสภาต้องเป็นคนดี มีศีล มีคุณธรรม ประกอบพร้อมด้วยคุณธรรมของสัตบุรุษทั้ง ๗ ประการ เป็นสัมมาทิฏฐิ
ถ้าหากในสภานั้นหรือในสถานที่นั้น ๆ ปราศจากเสียแล้วซึ่งคนดีมีคุณธรรมดังที่ได้กล่าวมา หากแต่เป็นที่รวมกันของคนชั่วที่คอยหาผลประโยชน์กอบโกยโกงกิน ที่นั่นย่อมจะไม่สามารถเรียกว่าเป็นสภาได้ คงเป็นได้แต่ที่ซ่องโจรเท่านั้น
ดังนั้น ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองโดยส่วนรวม ผู้ที่ได้รับเกียรติให้เข้าไปนั่งในสภา พึงสำเหนียกสำนึกอยู่เสมอว่า สถานที่แห่งนั้นเป็นสภานที่ที่มีเกียรติ เมื่อเข้าไปอยู่ตรงนั้นแล้ว ต้องรักษาเกียรติ และต้องทำตัวให้มีเกียรติ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา