
สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ.
[คำอ่าน : สุ-โข, ปัน-ยา-ปะ-ติ-ลา-โพ]
“ความได้ปัญญา ทำให้เกิดสุข”
(ขุ.ธ. ๒๕/๕๙)
ปัญญา คือ ความรอบรู้ บุคคลผู้มีปัญญา ย่อมเป็นผู้รอบรู้ คือรอบรู้หนทางแห่งความเสื่อมและความเจริญ รอบรู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ รอบรู้ศิลปะวิชาในการดำเนินชีวิตประจำวัน
บุคคลผู้มีปัญญา ย่อมฉลาดสามารถที่จะแก้ไขวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เข้าใจปัญหา เข้าใจวิธีแก้ปัญหา ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นคลี่คลายลงได้อย่างง่ายดาย
เมื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้ ความทุกข์ยากลำบากก็เบาบาง จนถึงขั้นหมดไปเลย เมื่อปัญหาเบาบาง ความทุกข์ยากลำบากเบาบางลง ความสุขก็บังเกิดมี
แต่ปัญญาในพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ ท่านหมายเอาปัญญาในทางธรรม คือปัญญาที่เกิดจากวิปัสสนา อันจะเป็นตัวกำจัดกิเลสให้หมดไปจากขันธสันดานของเรา
เมื่อปัญญาคือวิปัสสนาเกิดขึ้น ก็จะกำจัดกิเลสให้เบาบางลงและหมดไปได้ตามกำลังของวิปัสสนานั้น เมื่อกิเลสเบาบางลง ความทุกข์ก็ลดลง เมื่อกิเลสถูกกำจัดเสียหมด ความทุกข์ก็ย่อมจะหมดไป เพราะกิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ความได้ปัญญา ทำให้เกิดความสุข
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา