
ธรรมขันธ์ 5 ประการ
ธรรมขันธ์ แปลว่า หมวดแห่งธรรม หรือกองแห่งธรรม หมายถึง การประมวลธรรมทั้งปวงรวมกันเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ มี 5 ประการ คือ
1. สีลขันธ์
สีลขันธ์ กองศีล หรือหมวดศีล เป็นหมวดธรรมที่รวบรวมธรรมะที่เกี่ยวข้องกับการฝึกกายวาจาให้เรียบร้อยดีงามเข้าไว้ด้วยกัน เช่น อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปาติโมกขสังวร กายสุจริต สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นต้น
2. สมาธิขันธ์
สมาธิขันธ์ กองสมาธิ หรือหมวดสมาธิ เป็นหมวดธรรมที่รวบรวมธรรมะเกี่ยวกับการฝึกอบรมใจให้เกิดความสงบตั้งมั่นเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นต้น
3. ปัญญาขันธ์
ปัญญาขันธ์ กองปัญญา หรือหมวดปัญญา เป็นหมวดธรรมที่รวบรวมธรรมะเกี่ยวกับการอบรมปัญญาเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ธัมมวิจยะ วิมังสา ปฏิสัมภิทา สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น
4. วิมุตติขันธ์
วิมุตติขันธ์ กองวิมุตติ หรือหมวดวิมุตติ เป็นหมวดธรรมที่รวบรวมธรรมะเกี่ยวกับความหลุดพ้นเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ปหาน วิราคะ วิโมกข์ วิสุทธิ สันติ นิโรธ นิพพาน เป็นต้น
5. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ กองวิมุตติญาณทัสสนะ หรือหมวดวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นหมวดธรรมที่รวบรวมธรรมะที่เกี่ยวกับการรู้เห็นในวิมุตติ เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เป็นต้น
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ