
จักขุ 5 ประการ
จักขุ แปลว่า ตา ในที่นี้หมายถึงพระจักษุอันเป็นสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ความรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของพระพุทธเจ้าที่ไม่มีใครเทียบเท่า มี 5 ประการ คือ
1. มังสจักขุ
มังสจักขุ ตาเนื้อ คือ ทรงมีพระเนตรอันงาม มีอำนาจ เห็นแจ่มใส ไว และเห็นไกล เป็นพระจักษุที่มีคุณสมบัติพิเศษเหนือดวงตาของคนธรรมดาทั่วไป
2. ทิพพจักขุ
ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือ ทรงมีพระญาณอันเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นไปต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจกรรม ทรงเห็นการเกิดและการตายของสัตว์ทั้งหลาย ทรงเห็นว่าสัตว์แต่ละตนมีรูปร่าง ฐานะ สติปัญญา เป็นต้น แตกต่างกัน เพราะกรรมอะไร หรือผู้นั้นทำกรรมอะไรไว้จึงได้เสวยผลเช่นนี้
3. ปัญญาจักขุ
ปัญญาจักขุ ตาปัญญา คือ ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้อริยสัจจธรรม เป็นเหตุให้พระองค์หลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งหลาย สำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
4. พุทธจักขุ
พุทธจักขุ ตาพระพุทธเจ้า คือ ทรงประกอบด้วยอินทริยปโรปริยัตตญาณ และอาสยานุสยญาณ เป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์ แล้วทรงสั่งสอนแนะนำให้บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ ยังพุทธกิจให้บริบูรณ์
5. สมันตจักขุ
สมันตจักขุ ตาเห็นรอบ คือ ทรงประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ ทั้งที่เป็นสังขตธรรม และ อสังขตธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นจิต เจตสิก รูป และนิพพาน
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ