
เทวทูต 5 ประการ
เทวทูต คือ ทูตของยมเทพ หรือ สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู หมายถึง สิ่งที่เป็นสัญญาณเตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิตอันมีความตายเป็นที่สุด เพื่อจะได้เกิดความสลดสังเวชและไม่ประมาท จะได้เร่งขวนขวายทำความดี จำแนกเป็น 3 ประเภทบ้าง 4 ประเภทบ้าง 5 ประเภทบ้าง ในที่นี้จะกล่าวถึงเทวทูต 5 คือ
1. ทหระ หรือ มันทกุมาร
ทหระ หรือ มันทกุมาร คือ เด็กอ่อน เด็กอ่อนนี้เป็นสัญญาณเตือนให้เราได้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ของการเกิด คนทุกคนเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วย่อมอยู่ในภาวะของเด็กอ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ในช่วงนี้จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องได้รับการประคบประหงมจากมารดาบิดาด้วยความทะนุถนอม จึงสามารถมีชีวิตเติบใหญ่ได้
เมื่อพิจารณาดูเด็กอ่อน เราจะเข้าใจความเป็นทุกข์ของการเกิดได้อย่างชัดเจน ยิ่งเกิดบ่อยแค่ไหน ก็ทุกข์บ่อยแค่นั้น เราควรเร่งบำเพ็ญบารมีเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์คือพระนิพพานโดยเร็วที่สุด ยิ่งถึงนิพพานได้เร็วแค่ไหน ก็ยิ่งตัดภพตัดชาติคือระงับการเกิดได้เร็วแค่นั้น
2. ชิณณะ
ชิณณะ คือ คนแก่ คนแก่เป็นสัญญาณเตือนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของชีวิต คนทุกคนเกิดมาไม่สามารถเป็นเด็กได้ตลอดหรือเป็นหนุ่มได้ตลอด เพราะสุดท้ายจะต้องเข้าถึงความแก่ ตามความเปลี่ยนแปลงของสังขาร และเมื่อเข้าถึงความแก่ ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก็ปรากฏในทางที่เป็นลบ เช่น ความสามารถลดลง สติปัญญาถอยลง เป็นต้น
เมื่อพิจารณาดูคนแก่ด้วยปัญญาแล้ว เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ความแก่เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการสร้างบารมี ดังนั้น เราควรเร่งสร้างบุญสร้างบารมีเสียตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ยังมีเรี่ยวแรงที่จะสร้างได้
3. พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ
พยาธิตะ หรือ อาพาธิกะ คือ คนเจ็บป่วย ธรรมดาคนเจ็บป่วยนั้นจะได้รับความทุกข์ทรมานอันเกิดขึ้นจากความเจ็บป่วย หนักบ้างเบาบ้างตามกำลังของความเจ็บป่วยที่ได้รับ บ้างก็สามารถทนอยู่ได้จนร่างกายหายเป็นปกติ บ้างก็ต้องจบชีวิตลงเพราะฤทธิ์ของความเจ็บป่วยที่ได้รับ
เมื่อพิจารณาดูคนเจ็บป่วยด้วยปัญญาแล้ว เราจะเห็นชัดว่า ความเจ็บป่วยก็เป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญบารมีเช่นกัน ดังนั้น เมื่อยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่ พึงรีบขวนขวายสร้างบุญบารมีให้มาก ๆ
4. กัมมการณัปปัตตะ
กัมมการณัปปัตตะ คือ คนถูกลงโทษ หรือคนถูกจองจำลงอาญา คนที่ถูกลงโทษ ถูกจองลำลงอาญานั้น ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางกายและทางใจ อีกทั้งขาดอิสรภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามใจปรารถนา โอกาสที่จะได้สร้างสมคุณงามความดีก็ยิ่งน้อยลงไปอีก
เมื่อพิจารณาดูคนถูกลงโทษถูกจองจำ เห็นถึงความไร้อิสรภาพของเขาแล้ว พึงกลับมาพิจารณาดูตนเอง ว่าเรานี้มีอิสรภาพ มีโอกาสที่จะสร้างคุณงามความดี สร้างบารมีได้ดังที่ใจต้องการ แล้วลงมือสร้างคุณงามความดีเอาไว้ให้มาก ๆ
5. มตะ
มตะ คือ คนตาย สัตว์ทั้งหลายตายด้วยสาเหตุหลายอย่าง บ้างก็ตายเพราะโรค บ้างก็ตายเพราะความแก่ตามกาลเวลา บ้างก็ตายเพราะถูกทำลายชีวิต และตายในวัยต่าง ๆ กัน เช่น บ้างก็ตายตั้งแต่อยู่ในท้องมารดา บ้างก็ตายในปฐมวัย บ้างก็ตายในมัชฌิมวัย บ้างก็ตายในปัจฉิมวัย แต่ไม่ว่าจะตายในวัยไหน หรือเพราะสาเหตุใด สุดท้าย สรรพสัตว์ทุกตัวตนจะต้องตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อพิจารณาดูคนตายที่ตายด้วยสาเหตุต่างกันและวัยที่ต่างกัน จะเห็นถึงความไม่แน่นอนของชีวิต เราไม่รู้เลยว่า เราจะตายวันไหน และจะตายเพราะอะไร รู้แต่เพียงว่า เราจะต้องตายแน่นอน ดังนั้น พึงรีบขวนขวายสร้างคุณงามความดี สร้างบุญบารมีในขณะที่ยังมีโอกาส
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ