
นิวรณ์ 5 ประการ
นิวรณ์ คือ สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง หมายถึง อกุศลธรรมที่ครอบงำจิตไม่ให้บรรลุนิพพาน เพราะเป็นตัวทอนกำลังปัญญาคือวิปัสสนาญาณและมรรคญาณให้อ่อนกำลังลง มี 5 ประการ คือ
1. กามฉันทะ
กามฉันทะ ความพอใจในกาม ความต้องการกามคุณ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่น่าปรารถนา หมายถึง ความหลงยึดติดในกามคุณ 5 ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าพอใจ
ผู้ที่ถูกกามฉันทะครอบงำ ย่อมฝักใฝ่ในอันที่จะแสวงหากามคุณอันน่าปรารถนาอยู่เสมอ จิตตกต่ำหมกมุ่นอยู่กับกิเลส ทำให้ขาดสติปัญญา ไม่สามารถพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงได้ เป็นสิ่งขวางกั้นการบรรลุธรรม
2. พยาบาท
พยาบาท คือ ความคิดร้าย ความขัดเคืองแค้นใจ ความไม่พอใจ เกิดจากการประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจหรือที่ไม่ชอบใจ เมื่อเกิดพยาบาทขึ้นแล้วย่อมเดือดดาล คิดจะทำลายทำร้าย อยากจะพ้นจากสิ่งที่ไม่ชอบใจนั้น หรืออยากจะทำลายสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่ชอบใจนั้น เป็นต้น
3. ถีนมิทธะ
ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม ผู้ที่ถูกถีนมิทธะครอบงำ จะเกิดอาการหดหู่เซื่องซึม เหนื่อยหน่าย เกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ตื่นตัว ไม่พร้อมที่จะทำภารกิจใด ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เป็นอุปสรรคต่อการทำงานทุกชนิด และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมชำระกิเลสด้วย
4. อุทธัจจกุกกุจจะ
อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล ผู้ที่ถูกอุทธัจจะกุกกุจจะครอบงำ จะมีความกระวนกระวายใจ กังวลถึงบาปอกุศลทั้งหลายที่เคยทำไว้ เป็นจิตที่ขุ่นมัวไม่ผ่องใส ไม่สามารถสงบระงับได้
5. วิจิกิจฉา
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ผู้ที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ ย่อมเต็มไปด้วยความลังเลสงสัย ตกลงใจไม่ได้ จะทำอะไรก็ตัดสินใจไม่ได้ ไม่แน่ใจสักอย่าง สงสัยในหลักธรรมคำสอน สงสัยในพระรัตนตรัย เป็นตัวขวางกั้นการบรรลุธรรมอีกอย่างหนึ่ง
ผู้ที่หวังจะทำความดีให้สำเร็จ หรือบรรลุถึงนิพพาน ต้องกำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 ประการนี้ให้หมดไปจากใจ
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ