
อุบาสกธรรม 5 ประการ
อุบาสกธรรม หมายถึง ธรรมะของอุบาสก หรือคุณสมบัติของอุบาสก ซึ่งหมายถึงผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย ได้แก่ผู้รับเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไม่มีสรณะอื่นยิ่งกว่า ถ้าเป็นสตรีเรียกว่า อุบาสิกา คุณสมบัติของอุบาสกนั้นมี 5 ประการ คือ
1. ประกอบด้วยศรัทธา
ผู้ที่จะเรียกตนว่าเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาได้นั้น จะต้องประกอบด้วยศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธศาสนา ไม่เคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ และประกอบด้วยตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
2. รักษาศีลบริสุทธิ์
ผู้เป็นอุบาสก จะต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ คือ ศีล 5 ข้อ ที่ต้องรักษาอยู่เป็นนิตย์ก็ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ศีล 8 ข้อที่ควรสมาทานรักษาในวันอุโบสถ ก็รักษาให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ถ้าละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่งอยู่เป็นประจำ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นอุบาสกที่สมบูรณ์
3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
ผู้เป็นอุบาสก ต้องเป็นผู้หวังผลจากการกระทำของตน ไม่ใช่หวังการดลบันดาลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกรรมและผลของกรรม คือประกอบด้วยกัมมสัทธาและวิปากสัทธา ไม่หวังผลลม ๆ แล้ง ๆ จากการบนบานศาลกล่าว
4. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา
ผู้เป็นอุบาสก จะต้องไม่แสวงหาบุญเขตในศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา หรือประกอบพิธีตามลัทธิความเชื่อของศาสนาอื่น เพราะถ้าทำเช่นนั้นอยู่ แสดงว่าไม่มีศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา ถือว่าขาดคุณสมบัติของอุบาสก
5. บำเพ็ญบุญเฉพาะในพระพุทธศาสนา
ผู้เป็นอุบาสก จะต้องบำเพ็ญบุญเฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้น หมายถึง ให้ทำบุญตามความเชื่อในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ
หรืออีกนัยหนึ่ง อุบาสก ต้องเอาใจใส่บำรุงพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงสถาพรสืบไป ไม่ให้มีภัยใด ๆ มากล้ำกลายพระพุทธศาสนา
ผู้ที่จะได้ชื่อว่าเป็นอุบาสกอุบาสิกาที่แท้จริงนั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติทั้ง 5 ประการนี้ หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง ถือว่าไม่ใช่อุบาสกโดยสมบูรณ์ เพราะคุณสมบัติไม่ครบนั่นเอง
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ