
สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ.
[คำอ่าน : สัน-ตุด-ถี, ปะ-ระ-มัง, ทะ-นัง]
“ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง”
(ขุ.ธ. ๒๕/๔๒)
ความสันโดษ หมายถึง ความยินดีพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น ไม่โลภอยากได้จนเกินพอดี จนทำให้ต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนเพื่อให้ได้สิ่งที่ปรารถนา
เมื่อบุคคลมีความสันโดษ เขาย่อมไม่มีความกระเสือกกระสนที่จะหามาซึ่งทรัพย์สินจนเกินประมาณ จนทำให้ตนเองและผู้อื่นต้องเดือดร้อน หากแต่จะยินดีในทรัพย์สินของตนเท่าที่มีอยู่ หรือที่เรากเรียกว่า รู้จักพอ
เมื่อบุคคลมีความสันโดษ หรือรู้จักพอแล้ว เขาย่อมมีความสุขกับสิ่งของที่มีอยู่ ไม่ต้องไขว่คว้า ไม่ต้องดิ้นรน นั่นแหละคือทรัพย์อันเลิศเสียยิ่งกว่าทรัพย์
เพราะไม่ว่าจะหาทรัพย์สินได้มามากมายแค่ไหนเพียงไรก็ตาม หากไม่มีความสันโดษ ไม่รู้จักพอเสียแล้ว เขาย่อมไม่รู้สึกว่าตนเองมี ย่อมรู้สึกถึงแต่ความไม่มีอยู่ร่ำไป นั่นแหละเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ไม่รู้จบสิ้น
ดังนั้น ความสันโดษ จึงถือว่าเป็นทรัพย์ที่ยิ่งกว่าทรัพย์ เพราะทรัพย์สมบัติทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถสร้างความสุขให้คนได้อย่างแท้จริง แต่ทรัพย์คือความสันโดษนั้น ทำให้บุคคลประสบกับความสุขในการดำเนินชีวิต
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา