
ศีล 8 ประการ
ศีล แปลว่า ปกติ หมายถึง ข้อปฏิบัติเพื่อรักษาความประพฤติทางกายและทางวาจาให้เป็นปกติและเรียบร้อยดีงาม ศีล 8 เป็นศีลที่มีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นจากศีล 5 เป็นศีลสำหรับสมาทานรักษาในกรณีพิเศษเช่นวันอุโบสถ ที่เรียกว่า อุโบสถศีล หรือเป็นศีลสำหรับอุบาสิกาผู้ถือบวชเป็นแม่ชีสมาทานรักษา
อุโบสถศีล คือ ข้อปฏิบัติสำหรับพัฒนาตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเช่นเดียวกับศีล 8 อุบาสกอุบาสิกาจะ สมาทานรักษาเป็นประจำในวันพระ คือ วันขึ้นและแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ (แรม 14 ค่ำในเดือนขาด) มีองค์สิกขาบท และองค์แห่งศีลเหมือนกัน ต่างกันแต่คำอาราธนา คำสมาทาน และกาลเวลาที่กำหนดเท่านั้น
อุโบสถ แปลว่า การเข้าอยู่ หรือดิถีอันวิเศษที่จะเข้าจำศีล การถืออุโบสถจะมีเวลากำหนด เช่น หนึ่งวันกับหนึ่งคืน โดยกำหนดเอาอรุณแห่งวันรุ่งขึ้นหรือเวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น ซึ่งมีสองระยะ คือ มีแสงขาว เรื่อๆ (แสงเงิน) และแสงแดง (แสงทอง) ในเวลาย่ำรุ่ง เป็นการหมดเขตการสมาทานหรือหมดเวลาการรักษาอุโบสถศีล ส่วนศีล 8 ไม่มีเวลากำหนด สามารถรักษาได้ตลอดเวลา
การสมาทานอุโบสถศีล จะสมาทานร่วมกันทุกข้อ เรียกว่า เอกัชฌสมาทาน ดังนั้น การรักษาอุโบสศีลจึงต้องรักษารวมกันทุกสิกขาบทหรือทุกข้อ ถ้าขาดข้อใดไปก็ถือว่าศีลขาด ขาดจากความเป็นผู้รักษาอุโบสถศีล
ศีลทั้ง 8 ประการนั้นประกอบด้วย
- ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
- อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
- อพฺรหฺมจริยา เวรมณี เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์
- มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการกล่าวเท็จ
- สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
- วิกาลโภชนา เวรมณี เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
- นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
- อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ