
เบญจธรรม 5 ประการ
เบญจธรรม แปลว่า ธรรม 5 ประการ หมายถึง ธรรมอันดีงามห้าอย่าง หรือคุณธรรมห้าประการ เป็นหลักธรรมที่ใช้ร่วมกับเบญจศีล เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่การรักษาศีลห้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจกัลยาณธรรม ประกอบด้วย
1. เมตตาและกรุณา
เมตตาและกรุณา ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขความเจริญ และความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์
- เมตตา คือ ความรัก (ความรักที่ปราศจากราคะ) ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญ ความคิดอยากจะทำคุณประโยชน์แก่คนรอบข้างเพื่อให้เขามีความสุขความเจริญ
- กรุณา คือ ความสงสาร ความปรารถนาอยากจะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ เห็นคนอื่นสัตว์อื่นตกทุกข์ได้ยากแล้วอยากจะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากภาวะเช่นนั้น ความมีใจฝักใฝ่ในอันที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่นสัตว์อื่น
เมตตาและกรุณา เป็นหลักธรรมที่สนับสนุนศีลข้อที่ 1 คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
2. สัมมาอาชีวะ
สัมมาอาชีวะ การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต หมายถึง การเว้นขาดจากมิจฉาชีพ เว้นขาดจากอเนสนา คือการแสวงหาปัจจัยสี่ในทางที่ไม่ควร เลี้ยงชีพโดยสัมมาชีพ แสวงหาปัจจัยสี่ในทางที่ถูกที่ควร
สัมมาอาชีวะ เป็นหลักธรรมที่สนับสนุนศีลข้อที่ 2 คือ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
3. กามสังวร
กามสังวร ความสังวรในกาม ความสำรวมระวังรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ ไม่ให้หลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ไม่เผลอไปทำชู้สู่สมผิดลูกผิดผัวผิดเมียคนอื่นเขา ยินดีเฉพาะในคู่ครองของตนเท่านั้น สามีไม่นอกใจภรรยา ภรรยาไม่นอกใจสามี
กามสังวร เป็นหลักธรรมที่สนับสนุนศีลข้อที่ 3 คือ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. สัจจะ
สัจจะ ความสัตย์ ความซื่อตรง ความจริงใจ การอยู่ร่วมกันในสังคม หากแต่ละคนมีความซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน ไม่หลอกลวงกัน ก็จะทำให้เกิดความไว้วางใจกันได้ แต่ละคนสามารถคบหากันได้ ทำงานร่วมกันได้ อยู่ร่วมกันได้ด้วยความสบายใจ ไม่ต้องหวาดระแวงกันและกัน
สัจจะ เป็นหลักธรรมที่สนับสนุนศีลข้อที่ 4 คือ งดเว้นจากการพูดเท็จ
5. สติสัมปชัญญะ
สติสัมปชัญญะ ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ คือ ฝึกตนให้เป็นคนรู้จักยั้งคิด รู้สึกตัวเสมอว่า สิ่งใดควรทำ และไม่ควรทำ ระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาท
- สติ คือ ความระลึกได้ หมายถึง การฉุกคิดขึ้นได้ก่อนที่จะทำ พูด หรือคิดอะไร หรือความมีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำ พูด หรือคิด ทำให้เรารู้อยู่เสมอว่า เราจะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร หรือเรากำลังทำอะไร กำลังพูดอะไร กำลังคิดอะไร สติจึงเป็นตัวกำกับอย่างดีไม่ให้เราเผลอทำผิด พูดผิด หรือคิดผิด
- สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม หรือรู้ชัดแจ้งตามความเป็นจริง เข้าใจชัดเจน ในสิ่งที่สติระลึกได้ ว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดี ผิดหรือถูก มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ เป็นต้น เมื่อเรารู้ชัดว่าสิ่งที่เรากำลังทำ พูด คิด เป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดี เราก็จะสามารถทำสิ่งที่ถูกต้อง และยับยั้งการทำ พูด คิด ที่ผิดทำนองคลองธรรมเสียได้
สติและสัมปชัญญะ เป็นหลักธรรมที่สนับสนุนศีลข้อที่ 5 คือ งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เมื่อบุคคลมีหลักเบญจธรรมทั้ง 5 ประการนี้เป็นข้อปฏิบัติ จะทำให้สามารถรักษาศีล 5 ได้บริสุทธิ์หมดจด
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ