
บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
บริษัท แปลว่า ชุมนุม ที่ประชุม หรือกลุ่มชน ในที่นี้หมายเอาหมู่แห่งพุทธศาสนิก หรือชุมชนชาวพุทธ หมายถึงกลุ่มชนที่จะประคับประคองพระพุทธศาสนาให้คงอยู่และเจริญรุ่งเรืองไปได้ ท่านจำแจกไว้ 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ภิกษุบริษัท
ภิกษุบริษัท กลุ่มแห่งภิกษุ หมายถึง บุรุษที่สละการอยู่ครองเรือน อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ศึกษาหลักธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รู้แจ้งถ่องแท้ และนำหลักธรรมคำสอนนั้นมาถ่ายทอดเผยแผ่ให้ชาวโลกทั้งหลายได้รู้ตาม
2. ภิกษุณีบริษัท
ภิกษุณีบริษัท กลุ่มแห่งภิกษุณี หมายถึง สตรีที่สละการอยู่ครองเรือน บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ศึกษาหลักธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รู้แจ้งถ่องแท้ และนำหลักธรรมคำสอนนั้นมาถ่ายทอดเผยแผ่ให้ชาวโลกทั้งหลายได้รู้ตาม
3. อุบาสกบริษัท
อุบาสกบริษัท กลุ่มแห่งอุบาสก หมายถึง บุรุษผู้มิได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ แต่นับถือพระพุทธศาสนา ถึงไตรสรณคมน์ ถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะสูงสุด ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คอยอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา สนับสนุนปัจจัย 4 แก่ภิกษุและภิกษุณีให้มีกำลังสามารถดำรงธาตุขันธ์เพื่อศึกษา ปฏิบัติ และเผยแผ่พระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไป
4. อุบาสิกาบริษัท
อุบาสิกาบริษัท กลุ่มแห่งอุบาสิกา หมายถึง สตรีผู้มิได้ออกบวชเป็นภิกษุณี แต่นับถือพระพุทธศาสนา ถึงไตรสรณคมน์ ถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะสูงสุด ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คอยอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา สนับสนุนปัจจัย 4 แก่ภิกษุและภิกษุณีให้มีกำลังสามารถดำรงธาตุขันธ์เพื่อศึกษา ปฏิบัติ และเผยแผ่พระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้กว้างขวางสืบไป
บริษัท หรือ พุทธบริษัท ทั้ง 4 กลุ่มนี้ ถือเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงมั่นและแพร่หลายต่อไป
ภิกษุและภิกษุณี มีหน้าที่หลักในการศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้รู้แจ้งถ่องแท้ และนำหลักธรรมนั้นมาปฏิบัติให้เข้าถึงมรรคผลนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา พร้อมกันนี้ก็ถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนเหล่านั้นให้อุบาสก อุบาสิกา และชาวโลกทั้งหลายได้รู้ตามและปฏิบัติตามด้วย
อุบาสก และอุบาสิกา มีหน้าที่หลักในการอุปถัมภ์ค้ำชูให้การสนับสนุนปัจจัย 4 แก่ภิกษุและภิกษุณี เพื่อให้มีกำลังในการศึกษาและปฏิบัติพระสัทธรรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนา พร้อมกันนี้ก็ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาตามสมควรแก่กำลังแห่งตนด้วย
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ