
โกโธ ทุมฺเมธโคจโร.
[คำอ่าน : โก-โท, ทุม-เม-ทะ-โค-จะ-โร]
“ความโกรธ เป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม”
(ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๘๐)
ความโกรธ เกิดขึ้นมาเพราะความไม่รู้ คือไม่รู้สภาวะความเป็นจริงของสรรพสิ่ง แล้วก็ปรุงแต่งไปในทางที่ทำให้ใจตัวเองต้องหงุดหงิดขัดเคือง จึงกลายเป็นความโกรธเกิดขึ้นมาเผาผลาญจิตใจตัวเองให้ร้อนรุ่ม
โดยธรรมชาติ เมื่อเราได้ประสบกับเหตุการณ์หรืออารมณ์ใด ๆ ก็แล้วแต่ที่ทำให้เราไม่พอใจ เราจะปรุงแต่งไปในทางที่เป็นลบ คิดไปว่าคนนั้นคนนี้ทำให้เราต้องเจ็บช้ำน้ำใจ ทำให้เราต้องเสียหาย หรืออะไรต่าง ๆ นานา เมื่อคิดดังนี้แล้วก็รู้สึกโกรธขึ้นมา
พอโกรธขึ้นมาแล้วก็ไม่ใช้สติปัญญาพิจารณาให้รู้เท่าทัน ไม่ใช้ขันติคือความอดทนเข้ามายับยั้งมันไว้ ความโกรธก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นอีกหลายเท่า
แต่ถ้าเราเป็นคนฉลาด จะสามารถพิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ได้ จะไม่ปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นครอบงำจิตใจ ถึงแม้ว่าจะพลาดให้ความโกรธเกิดขึ้น ก็จะยังสามารถใช้ขันติธรรมเข้ามาข่มความโกรธนั้นเอาไว้ได้ ไม่ให้มันทวีความรุนแรงขึ้น
มีแต่คนโง่เท่านั้นที่ปล่อยให้ความโกรธครอบงำตัวเองจนหลงไปทำตามอำนาจของความโกรธ ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า ความโกรธ เป็นอารมณ์ของคนโง่
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา