
กิจฺฉา วุตฺติ อสิปฺปสฺส.
[คำอ่าน : กิด-ฉา, วุด-ติ, อะ-สิบ-ปัด-สะ]
“ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง”
(ขุ.ชา.ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๐)
คำว่า “ศิลปะ” ในที่นี้ หมายถึง วิชาชีพแขนงต่าง ๆ ซึ่งมีไว้สำหรับใช้ทำมาหาเลี้ยงตน เช่น ช่างกล ช่างไม้ วิชาคอมพิวเตอร์ วิศวกรรม เป็นต้น ล้วนแต่เรียกว่าศิลปะทั้งนั้น
ศิลปะ เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนจากสถาบันการศึกษาบ้าง เกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์บ้าง เมื่อเรียนรู้จนช่ำชองสามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว เรียกว่า ศิลปะ
คนที่มีศิลปะดังกล่าว ย่อมสามารถใช้ศิลปะที่ร่ำเรียนมานั้นทำงานหาเลี้ยงชีพของตนเองได้โดยไม่ลำบาก ส่วนคนที่ปราศจากศิลปะ คือไม่มีวิชาความรู้ติดตัวสำหรับทำมาหากิน ย่อมเป็นอยู่โดยฝืดเคือง
ดังนั้น การใช้ชีวิตบนโลก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ศิลปะวิทยาวิชาการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ ทำมาหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว เพื่อการใช้ชีวิตด้วยความราบรื่นผาสุกไม่ฝืดเครือง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา