
อินทรีย์ 5 ประการ
อินทรีย์ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือ เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่แต่ละอย่าง ๆ ของตน ได้แก่ เป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ มี 5 ประการ คือ
1. สัทธา
สัทธา แปลว่า ความเชื่อ หมายถึง ความเชื่อที่มั่นคงต่อพระรัตนตรัย ที่เรียกว่า อจลสัทธา เป็นความเชื่อที่ไม่หวั่นไหว ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย ไม่คลอนแคลน ไม่มีสิ่งใดมาทำลายลงได้ หมายเอาศรัทธาของผู้บรรลุโสดาบัน
2. วิริยะ
วิริยะ แปลว่า ความเพียร หมายถึง ความเพียรที่จะนำไปสู่การบรรลุธรรม หมายเอาสัมมัปปธานคือความเพียรชอบ 4 ประการ คือ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน และอนุรักขนาปธาน
3. สติ
สติ แปลว่า ความระลึกได้ หมายถึง การตามระลึกรู้กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งได้แก่สติปัฏฐาน 4 คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั่นเอง
4. สมาธิ
สมาธิ แปลว่า ความตั้งใจมั่น หมายถึง การเจริญสมาธิในขั้นฌาน 4 คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน
5. ปัญญา
ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ หมายถึง ความรอบรู้ในอริยสัจ 4 รู้ว่าทุกข์ควรกำหนดรู้ รู้ว่าสมุทัยควรละ รู้ว่านิโรธควรทำให้แจ้ง รู้ว่ามรรคควรเจริญให้มาก
หมวดธรรมนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พละ 5 ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลัง ทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลง จะเข้าครอบงำไม่ได้
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ