
อุบาสกธรรม 7 ประการ
อุบาสกธรรม หมายถึง ธรรมะของอุบาสก หรือคุณสมบัติของอุบาสก ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก ซึ่งหมายถึงผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย ได้แก่ผู้รับเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไม่มีสรณะอื่นยิ่งกว่า ถ้าเป็นสตรีเรียกว่า อุบาสิกา คุณสมบัติของอุบาสกนั้นมี 7 ประการ คือ
1. ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ
การเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุอยู่บ่อย ๆ ทำให้ได้มีโอกาสสนทนาธรรม ช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่ ๆ ในด้านธรรมะจากพระภิกษุอยู่เสมอ หากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับข้ออรรถข้อธรรม ก็สามารถปรึกษาขอคำแนะนำจากท่านได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังทำให้รู้ความเป็นไปของพระภิกษุที่ตนเข้าพบปะเยี่ยมเยือนนั้นด้วย หากท่านมีปัญหาใด ๆ เกี่ยวกับสุขภาพร่างกายหรือด้านอื่น ๆ ก็จะได้ช่วยเหลือท่านในด้านนั้น ๆ เป็นการบำเพ็ญกุศลอีกส่วนหนึ่ง
2. ไม่ละเลยการฟังธรรม
การฟังธรรมเป็นการเพิ่มพูนปัญญาที่ดี เพราะช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่ ๆ ตัดความสงสัยในเรื่องที่สงสัยเสียได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำหลักธรรมที่ได้ยินได้ฟังมานั้นไปถ่ายทอดให้คนอื่นได้รู้ตามได้อีกด้วย เป็นการรักษาไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางขึ้นไปอีกประการหนึ่ง ดังนั้น การฟังธรรมจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะละเลยเสียมิได้
3. ศึกษาในอธิศีล
ผู้เป็นอุบาสก จะต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ คือ ศีล 5 ข้อ ที่ต้องรักษาอยู่เป็นนิตย์ก็ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ศีล 8 ข้อที่ควรสมาทานรักษาในวันอุโบสถ ก็รักษาให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ถ้าละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่งอยู่เป็นประจำ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นอุบาสกที่สมบูรณ์
4. มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ นวกะ และปูนกลาง
อุบาสกจะต้องเป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่นในพระสงฆ์ ซึ่งหมายถึงภิกษุทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นผู้บวชใหม่ ผู้บวชมาได้ระยะหนึ่ง หรือระดับพระเถระก็ตาม คือศรัทธาเลื่อมใสโดยไม่เลือกหน้า ไม่มีข้อแม้ด้านอายุพรรษา ความรู้ หรือด้านใด ๆ ก็ตาม หากแม้จะมีภิกษุบางรูปที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม ก็สามารถเข้าใจได้ว่านั่นเป็นข้อบกพร่องส่วนบุคคล ไม่เหมารวมจนทำให้เสื่อมศรัทธาในภิกษุทั้งปวง
5. ไม่ฟังธรรมด้วยตั้งใจจะคอยเพ่งโทษติเตียน
การฟังธรรมเป็นการเพิ่มพูนสติปัญญา ผู้เป็นอุบาสกไม่พึงฟังธรรมด้วยตั้งใจจะคอยเพ่งโทษจับผิดพระธรรมกถึก เช่น จับผิดว่าพระธรรมกถึกพูดถูกหรือไม่ มีข้อบกพร่องหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งการฟังธรรมในลักษณะนี้ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ ที่ถูกคือควรฟังธรรมโดยมุ่งประโยชน์ มุ่งข้ออรรถข้อธรรมอย่างแท้จริง
6. ไมแสวงหาทักขิไณยภายนอกหลักคำสอนนี้
ผู้เป็นอุบาสก จะต้องไม่แสวงหาบุญเขตในศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา หรือประกอบพิธีตามลัทธิความเชื่อของศาสนาอื่น เพราะถ้าทำเช่นนั้นอยู่ แสดงว่าไม่มีศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา ถือว่าขาดคุณสมบัติของอุบาสก
7. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา
ผู้เป็นอุบาสก จะต้องบำเพ็ญบุญเฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้น หมายถึง ให้ทำบุญตามความเชื่อในพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ หรืออีกนัยหนึ่ง อุบาสก ต้องเอาใจใส่บำรุงพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงสถาพรสืบไป ไม่ให้มีภัยใด ๆ มากล้ำกลายพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทั้ง 7 ประการนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัมปทาของอุบาสก เป็นหลักธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญงอกงามของอุบาสก หรือทำให้บุคคลกลายเป็นอุบาสกที่สมบูรณ์แบบ
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ