
ทิศ 6 ประการ
ทิศ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงทิศโดยทั่วไปมีทิศเหนือเป็นต้น แต่หมายถึงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวเราโดยฐานะและหน้าที่ 6 ประเภท พระพุทธเจ้าทรงนำบุคคลเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับทิศทั้ง 6 และแสดงหลักการปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านั้นไว้ ดังนี้
1. ปุรัตถิมทิศ ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา
ปุรัตถิมทิศ ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา มารดาบิดา จัดว่าเป็นทิศเบื้องหน้า เพราะท่านเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก่อนคนอื่นทั้งหมด เป็นผู้ให้กำเนิดเรา ชุบเลี้ยงเรามาจนเติบใหญ่ สอนให้เราเดิน สอนให้เราพูด สอนให้เรากิน เป็นต้น เรียกว่าเป็นผู้มีบุญคุณต่อเราก่อนคนอื่นทั้งหมด
บุตรธิดาพึงกระทำตอบแทนบุญคุณมารดาบิดาด้วยการปฏิบัติดังนี้
- ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว พึงเลี้ยงท่านตอบแทน
- ช่วยทำกิจการงานของท่านให้สำเร็จลุล่วง
- ดำรงวงศ์สกุล
- ประพฤติตัวให้เกมาะสมกับความเป็นทายาทรับทรัพย์มรดก
- เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน
ผู้เป็นมารดาบิดาพึงอนุเคราะห์บุตรด้วยการปฏิบัติดังนี้
- ห้ามปรามจากความชั่ว
- ให้ตั้งอยู่ในความดี
- ให้ศึกษาศิลปวิทยา
- หาคู่ครองที่สมควรให้
- มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันควร
2. ทักขิณทิศ ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์
ทักขิณทิศ ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ ครูอาจารย์ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่เรา อบรมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เรา ทำให้เรามีวิชาความรู้สำหรับประกอบสัมมาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิต ถ้าขาดครูอาจารย์คอยถ่ายทอดวิชาความรู้เสียแล้ว เราย่อมไม่มีวิชาความรู้ในการดำรงชีวิต ดังนั้น ครูอาจารย์จึงจัดเป็นทักขิไณยบุคคลที่ควรแก่การเคารพบูชา เพราะความรู้เปรียบเสมือนมือขวาของคน ดังนั้น ครูอาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ จึงจัดอยู่ในทิศเบื้องขวา
ศิษย์พึงทดแทนบุณคุณครูอาจารย์ด้วยการปฏิบัติดังนี้
- ด้วยการลุกต้อนรับ
- ด้วยการเข้าไปหา (เพื่อคอยรับใช้)
- ด้วยเชื่อฟัง ใฝ่ใจเรียน
- ด้วยอุปัฏฐาก
- ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
ครูอาจารย์ พึงอนุเคราะห์ศิษย์ดังนี้
- ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
- สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
- สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
- ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ
- สร้างความคุ้มภัยในสารทิศ
3. ปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรและภรรยา
ปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรและภรรยา บุตรและภรรยาเป็นผู้ติดตามคอยสนับสนุนอยู่ข้างหลัง จึงจัดอยู่ในทิศเบื้องหลัง
ผู้เป็นสามี พึงปฏิบัติต่อภรรยาดังนี้
- ยกย่องให้เกียรติสมกับฐานะที่เป็นภรรยา
- ไม่ดูหมิ่น
- ไม่นอกใจ
- มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
- หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส
ผู้เป็นภรรยา พึงปฏิบัติตัวดังนี้
- จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
- สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
- ไม่นอกใจ
- รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
- ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง
4. อุตตรทิศ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย
อุตตรทิศ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย มิตรสหาย จัดว่าเป็นทิศเบื้องซ้าย เพราะเป็นผู้เคียงบ่าเคียงไหล่ในการต่อสู้กับอุปสรรคและอันตรายต่าง ๆ และเป็นกำลังสนับสนุนให้บรรลุความสำเร็จ
บุคคลพึงบำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย ดังนี้
- เผื่อแผ่แบ่งปัน
- พูดจามีน้ำใจ
- ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
- มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
- ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
มิตรสหายพึงอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
- เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
- เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
- ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
- ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
- นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
5. เหฏฐิมทิศ ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ บ่าว คนรับใช้
เหฏฐิมทิศ ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ บ่าว คนรับใช้ บ่าว คนรับใช้ หรือลูกน้อง จัดว่าเป็นทิศเบื้องล่าง เพราะเป็นผู้ช่วยทำงานต่าง ๆ เป็นฐานกำลังให้
นายพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นทิศเบื้องล่าง ดังนี้
- จัดการงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังความสามารถ
- ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
- จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
- ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
- ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร
คนรับใช้และคนงานพึงอนุเคราะห์นาย ดังนี้
- เริ่มทำการงานก่อนนาย
- เลิกงานทีหลังนาย
- ถือเอาแต่ของที่นายให้
- ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
- นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่
6. อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์
อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์ คำว่า สมณพราหมณ์ หมายถึง พระสงฆ์ จัดเป็นทิศเบื้องบน เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม และเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ
คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นทิศเบื้องบน ดังนี้
- จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
- จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
- จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
- ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
- อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4
พระสงฆ์พึงอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
- ห้ามปรามจากความชั่ว
- ให้ตั้งอยู่ในความดี
- อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
- ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
- ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
- บอกทางสวรรค์ คือทางชีวิตที่มีความสุขความเจริญให้
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ