
หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
มารดาบิดา จัดเป็นปุรัตถิมทิศ คือ ทิศเบื้องหน้า ในหลักทิศ 6 เพราะเป็นผู้มีอุปการะแก่บุตรก่อนกว่าคนอื่นทั้งปวง มารดาบิดาย่อมอนุเคราะห์บุตรธิดาด้วย 5 สถาน ดังนี้
1. ห้ามปรามจากความชั่ว
มารดาบิดาย่อมคอยห้ามปรามบุตรธิดาจากการกระทำชั่วทั้งหลาย เช่น ห้ามไม่ให้กระทำผิดศีลธรรม ห้ามไม่ให้ทำสิ่งที่ผิดกฏหมายบ้านเมืองอันจะเป็นเหตุให้ได้รับโทษทางกฏหมาย ห้ามไม่ให้กระทำการอันจะเป็นเหตุให้ถูกสังคมประณาม เป็นต้น
2. ให้ตั้งอยู่ในความดี
มารดาบิดา ย่อมแนะนำพร่ำสอนบุตรธิดาให้ดำรงตนอยู่ในคุณงามความดี เช่น แนะนำให้รักษาศีล แนะนำให้รู้จักการทำบุญทำทาน แนะนำให้กระทำสิ่งที่ดีงามถูกต้องตามจารีตประเพณีและกฎหมายบ้านเมือง แนะนำให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดควรหลีกเลี่ยง เป็นต้น
3. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
มารดาบิดาย่อมส่งเสริมบุตรธิดาให้ได้รับการศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับอนุาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา ตามสมควรแก่กำลัง เพื่อให้บุตรธิดามีวิชาความรู้สำหรับการประกอบสัมมาชีพทำงานหาเลี้ยงตนเองได้ในอนาคต มีอนาคตที่ดี
4. หาคู่ครองที่สมควรให้
มารดาบิดาย่อมหาคู่ครองที่ดีและเหมาะสมให้แก่บุตรธิดา หรือคอยช่วยแนะนำว่าคู่ครองแบบไหนจึงจะเหมาะสม คอยคัดกรองคนไม่ดีให้ออกห่างจากชีวิตบุตรธิดา ทำโดยประการที่บุตรธิดาจะได้คู่ครองที่ดีที่เหมาะสม
5. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร
มารดาบิดาย่อมคอยสนับสนุนบุตรธิดาในเรื่องของเงินทองของใช้ตั้งแต่เล็กจนโต หาเงินมาส่งเสียเลี้ยงดู ให้เงินใช้ไปโรงเรียน สนับสนุนเงินสำหรับการประกอบธุรกิจเมื่อบุตรธิดาเติบโตขึ้น นอกจากนั้นยังจัดแจงมอบทรัพย์มรดกที่ตนมีให้เป็นสิทธิ์ของบุตรธิดาต่อไปในคราวที่ตนต้องละจากโลกนี้ไป
ทั้ง 5 ประการนี้เป็นสิ่งที่มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา หรือพ่อแม่มือใหม่ที่ยังไม่รู้ ก็พึงอนุเคราะห์บุตรธิดาของตนด้วย 5 ประการนี้
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ