
หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
มารดาบิดา จัดเป็นปุรัตถิมทิศ คือ ทิศเบื้องหน้า ในหลักทิศ 6 เพราะเป็นผู้มีอุปการะแก่บุตรก่อนกว่าคนอื่นทั้งปวง มารดาบิดา จัดเป็นพรหมของลูก เพราะเป็นผู้ที่ประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ในบุตรของตน จัดเป็นบุรพาจารย์ของลูก เพราะเป็นผู้สอนลูกให้รู้จักคลาน ให้รู้จักพูด ให้รู้จักเดิน ให้รู้จักกิน เป็นต้น ก่อนครูทั้งปวง และจัดเป็นพระอรหันต์ของลูก เพราะเป็นผู้ไม่ถือโทษโกรธเคืองในบุตรธิดาของตน และพร้อมที่จะอภัยให้บุตรธิดาของตนอยู่เสมอ
หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงกระทำตอบแทนคุณของมารดาบิดา มี 5 ประการ ดังนี้
1. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
มารดาบิดาเป็นผู้มีพระคุณต่อบุตรธิดาอย่างล้นฟ้าเหลือแผ่นเดิน ท่านเลี้ยงดูเรามาด้วยความรักทะนุถนอมจนเติบใหญ่ คอยป้อนข้าวป้อนน้ำ สอนให้คลาน สอนให้เดิน สอนให้พูด สอนให้กิน เป็นต้น คอยซักผ้าให้ อาบน้ำให้ ส่งเสียให้ได้ศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น หน้าที่ของเราในฐานะบุตรธิดา พึงตอบแทนท่านด้วยการเลี้ยงดูท่านในยามที่ท่านแก่ชราให้เหมือนกับที่ท่านเลี้ยงเรามา
2. ช่วยทำการงานของท่าน
บุตรธิดาพึงเอาใจใส่ช่วยเหลือกิจธุระทั้งหลายของมารดาบิดาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่ว่างานนั้น ๆ จะเป็นงานหนักหรืองานเบาก็พึงยื่นมือเข้าช่วยเหลือ อย่าให้ท่านต้องเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป
3. ดำรงวงศ์สกุล
คำว่า ดำรงวงศ์สกุล หมายถึง การรักษาทรัพย์มรดกของตระกูลไม่ให้ฉิบหาย การรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล การสร้างชื่อเสียงในทางที่ดี หรือการยังมารดาบิดาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมให้ตั้งอยู่ในธรรม เช่น การชักชวนแนะนำให้บิดามารดาได้ฟังธรรมะ ได้ปฏิบัติธรรม ได้รักษาศีล ได้สร้างทานบารมี เป็นต้น
4. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
บุตรธิดาได้ชื่อว่าเป็นทายาท คือผู้รับทรัพย์มรดกของมารดาบิดา พึงประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ความเป็นทายาท ทำตัวให้ดี อย่าทำให้มารดาบิดาต้องลำบากใจหรือทุกข์ใจ
5. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
เมื่อถึงคราวที่มารดาบิดาทำกาลกิริยาล่วงลับไปแล้ว เราในฐานะบุตรธิดาพึงทำบุญให้ท่านบ่อย ๆ อย่าให้ขาดตกบกพร่อง เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ มารดาบิดาของเราได้ทำบุญเอาไว้มากแค่ไหน การทำบุญอุทิศให้ท่านย่อมเป็นการเพิ่มบุญให้ท่านมากยิ่งขึ้นไปอีก และเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาของเราเองด้วย
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ