
หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
ครูอาจารย์ ได้ชื่อว่าเป็นทักขิณทิศ คือ ทิศเบื้องขวา ในทิศ 6 เพราะครูอาจารย์เป็นผู้ที่คอยประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้อันเปรียบเสมือนแขนข้างขวาที่ใช้สร้างความเจริญให้แก่ศิษย์ ตลอดถึงอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้ศิษย์ ทำให้ศิษย์มีวิชาความรู้สำหรับประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตนเอง และมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำรงชีวิต
หน้าที่ที่ศิษย์พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ มี 5 ประการ ดังนี้
1. ลุกต้อนรับ
การลุกต้อนรับ เป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติ เมื่อศิษย์เห็นครูอาจารย์เดินมาแต่ไกลพึงลุกต้อนรับ หากเห็นครูอาจารย์ถือสิ่งของมาด้วยก็ควรเข้าไปช่วยถือ จัดแจงที่นั่งให้ เป็นต้น
2. เข้าไปหา
ศิษย์พึงหมั่นเข้าหาครูอาจารย์เพื่อถามสารทุกข์สุกดิบ เพื่อรับใช้ เพื่อช่วยงาน หรือแม้แต่เพื่อซักถามข้อสงสัยและขอคำแนะนำเกี่ยวกับศิลปวิทยาต่าง ๆ
3. ใฝ่ใจเรียน
ศิษย์ควรตั้งใจเรียน ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาที่ครูอาจารย์ถ่ายทอดให้ด้วยความตั้งใจ ทำตัวเป็นศิษย์ที่ดี เชื่อฟัง ไม่ดื้อด้าน ไม่เกเรเหลวไหล สิ่งใดครูอาจารย์ห้ามก็ไม่ควรทำ ไม่สร้างความลำบากใจให้กับครูอาจารย์
4. ปรนนิบัติ
ศิษย์ควรคอยปรนนิบัติหรืออุปัฏฐากครูอาจารย์อยู่เสมอ ใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หาน้ำดื่มมาไว้ให้ คอยช่วยถือของ คอยอำนวยความสะดวกที่พอทำได้ เป็นต้น
5. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ
ศิษย์พึงศึกษาศิลปวิทยาจากครูอาจารย์โดยเคารพ คือ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เอาจริงเอาจัง ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ครูอาจารย์คอยบอกคอยสอน ไม่ดูแคลน เห็นความสำคัญของสิ่งที่ครูอาจารย์ถ่ายทอดให้
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ