
สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
ลูกจ้าง จัดเป็นเหฏฐิมทิศ หรือ ทิศเบื้องล่าง ในทิศ 6 เพราะเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือรับใช้นายจ้าง ช่วยทำงานต่าง ๆ และเป็นฐานกำลังให้แก่นายจ้าง การที่ผู้เป็นลูกจ้างจะสามารถดำรงชีพอยู่ได้ก็ต้องอาศัยนายจ้าง คือทำงานให้นายจ้างเพื่อแลกกับสินจ้างรางวัลที่จะได้รับจากนายจ้าง ดังนั้น ลูกจ้างพึงมีหลักปฏิบัติที่ดี เพื่อสนับสนุนนายจ้างให้สมควรแก่สินจ้างรางวัลที่ตนได้รับ
ลูกจ้างที่ดีพึงปฏิบัติตนดังนี้
1. เริ่มทำการงานก่อนนาย
การเริ่มงานหรือเข้างานตรงเวลาเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่ลูกจ้างพึงระลึกไว้เสมอ ลูกจ้างต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตนเอง ตรงต่อเวลา ไม่เข้างานสาย สมัยก่อนลูกจ้างต้องตื่นก่อนนายเพื่อมาทำงาน แต่ปัจจุบันระบบการทำงานเปลี่ยนไป มีกรอบเวลาชัดเจน ก็ให้เป็นไปตามนั้น อย่าเข้างานช้ากว่าเวลาที่กำหนดเป็นใช้ได้
2. เลิกงานทีหลังนาย
สมัยก่อนลูกจ้างต้องเลิกงานทีหลังนาย แต่ปัจจุบันมีกรอบเวลาในการเข้าออกงานที่ชัดเจนก็ให้ยึดตามเวลาที่กำหนด นอกจากจะเข้างานตรงเวลาแล้วก็ควรเลิกงานตามเวลาด้วย คืออย่าเลิกงานก่อนเวลาที่กำหนดไว้
3. ถือเอาแต่ของที่นายให้
ความซื่อสัตย์ก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ลูกจ้างควรตระหนัก สิ่งของใดเป็นของนายจ้าง ลูกจ้างก็ไม่ควรถือเอาสิ่งนั้น แม้จะโดยวิสาสะหรือความคุ้นเคยกันก็ตาม ถ้านายจ้างไม่ได้ให้ ห้ามเอาของสิ่งนั้นมาเป็นของตัวเองเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดความไม่ไว้ใจ สุดท้ายอาจโดนเลิกจ้าง หรือยิ่งกว่านั้นอาจถูกดำเนินคดีได้
4. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
งานทุกอย่างที่ได้รับมอบหมายต้องทำให้เรียบร้อย อย่าให้มีข้อบกพร่อง ลูกจ้างต้องเป็นคนรอบคอบ หมั่นสำรวจตรวจตรางานของตนเองให้สมบูรณ์อยู่เสมอ นอกจากนี้ ต้องหมั่นพัฒนาฝีมือของตัวเองให้ดีขึ้นอยู่เสมอด้วย เพื่อจะได้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งงานสูงขึ้น จะได้เจริญงอกงามในหน้าที่การงาน
5. นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่
นายจ้างมีคุณงามความดีอะไรบ้าง ลูกจ้างก็ควรกล่าวสรรเสริญคุณงามความดีนั้น ๆ ของนายจ้างให้คนอื่นได้รับรู้อยู่เสมอ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและความดีของนายจ้างให้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไป แต่ข้อเสียของนายจ้างก็อย่าได้เที่ยวนำไปพูดให้นายจ้างต้องเสื่อมเสีย คนทุกคนทีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น จงเลือกพูดแต่สิ่งที่ดีของนายจ้างเถิด ส่วนข้อเสียของเขาก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของเขา อย่าได้เอาไปโพนทะนาเลย
ลูกจ้างคนใดมีคุณสมบัติ 5 ข้อนี้ ย่อมจะเจริญในหน้าที่การงานอย่างแน่นอน
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ