
โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน.
[คำอ่าน : โก-โท, จิด-ตับ-ปะ-โก-ปะ-โน]
“ความโกรธ ทำให้จิตใจกำเริบ”
(องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙)
ความโกรธ คือ ความขัดเคืองใจ ความขุ่นเคืองใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำให้จิตใจกำเริบ พองโต กล้าที่จะทำบาปกรรมนานาชนิด กล้าทำความผิดนานาประการ กล้าประหัตประหารผู้อื่น กล้าฝืนทำความชั่วที่คนปกติไม่กล้าทำหรือไม่คิดจะทำ
ความโกรธ ทำให้จิตใจร้อนรุ่ม เหมือนมีไฟสุมอยู่ในทรวง มันจะทำให้จิตใจของเรากระวนกระวาย ไม่เป็นอันอยู่ อยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อเป็นการระบายความโกรธที่กลุ้มรุมจิตใจอยู่นั้น
ความโกรธ เป็นตัวชักนำหรือยุยงส่งเสริมให้เราทำอะไรที่รุนแรง ไม่สนว่าจะดีหรือชั่ว ไม่สนว่าจะเป็นบาปหรือเป็นบุญ เพียงแค่ได้ทำตามอำนาจของความโกรธเท่านั้นเป็นพอ อันนี้เป็นลักษณะของความโกรธ
เมื่อความโกรธเกิดขึ้น ให้แก้ด้วยการอดทน ใช้ขันติธรรมมาข่มมันเอาไว้ ไม่ให้กำเริบ และใช้เมตตาธรรมมาคุ้มครองจิตไว้ ไม่ให้เผลอไปทำความชั่วตามอำนาจของความโกรธ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา