
โย รกฺขติ อตฺตานํ รกฺขิโต ตสฺส พาหิโร.
[คำอ่าน : โย, รัก-ขะ-ติ, อัด-ตา-นัง, รัก-ขิ-โต, ตัด-สะ, พา-หิ-โร]
“ผู้ใดรักษาตนได้แล้ว ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย”
(องฺ.ฉกฺก. 22/417)
คำว่า “ตน” แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนจิต และ ส่วนกาย
คำว่า “ตน” ในที่นี้หมายถึง ตนภายใน คือ ส่วนจิต ซึ่งเป็นส่วนควบคุมตนภายนอกคือส่วนกายอีกที
คำว่า “รักษาตน” ก็หมายถึง การรักษาจิตของตนเองให้มั่นคงอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่หวั่นไหวคลอนแคลนไปตามอำนาจของกิเลส คือคุ้มครองรักษาจิตด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ด้วยหลักกรรมฐาน ไม่ให้กิเลสครอบงำจิตใจได้
เมื่อบุคคลมีการรักษาตนภายในคือจิตด้วยดีดังกล่าวแล้ว ก็จะไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส ไม่กระทำกรรมใด ๆ ไปตามคำสั่งของกิเลส มีจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เมื่อคิดจะทำอะไรก็คิดแต่ในทางที่เป็นกุศล เป็นสุจริตกรรม
เมื่อจิตใจใสสะอาดดังกล่าวแล้ว เวลาจิตสั่งการให้ตนภายนอกคือส่วนกายกระทำการใด ๆ ย่อมเป็นไปในทางที่เป็นกุศลเท่านั้น การกระทำ และการพูด ก็จะเป็นกายสุจริต วจีสุจริต เพราะออกมาจากมโนสุจริต นั่นเอง
ดังนั้น คำว่า “ผู้ใดรักษาตนได้แล้ว ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย” จึงหมายความว่า ผู้ที่รักษาจิตใจของตนให้เป็นจิตใจที่ดีงาม ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ย่อมได้ชื่อว่ารักษาตนภายนอกคือส่วนกายด้วย เพราะเมื่อกายทำกรรมใด ๆ ก็ย่อมเป็นสุจริตกรรมตามจิตที่สั่งการที่เป็นมโนสุจริตนั่นเอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา