
สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ.
[คำอ่าน : สุด-สู-สัง, ละ-พะ-เต, ปัน-ยัง, อับ-ปะ-มัด-โต, วิ-จัก-ขะ-โน]
“ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา”
(สํ.ส. ๑๕/๓๑๖, ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑)
การฟังเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้เราได้รู้สิ่งใหม่ ๆ หรือหากฟังเรื่องเดิม ๆ ก็จะทำให้เข้าใจเรื่องนั้น ๆ ได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น การฟัง ไม่ว่าจะฟังอะไรก็ตาม หากฟังแล้วพินิจพิจารณาตาม ย่อมสามารถทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาได้ เช่น ฟังครูสอนในห้องเรียน ฟังบุคคลอื่น ๆ เล่าเรื่องที่เป็นประโยชน์ ฟังประสบการณ์ชีวิตของผู้อื่น ฟังพระสงฆ์เทสนาสั่งสอน เป็นต้น
การฟังในที่นี้หมายเอาการฟังธรรมคือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ผู้ที่ตั้งใจฟังด้วยดี แล้วพินิจพิจารณาตามในเหตุและผล ย่อมจะสามารถสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นได้
ข้อดีของการฟังธรรมนั้นมีอยู่ ๕ อย่าง ดังนี้
- ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
- สิ่งไหนเคยฟังมาแล้ว เมื่อได้ฟังอีกย่อมเข้าใจชัดเจนขึ้น
- บรรเทาความสงสัยลงได้
- มีความเห็นถูกต้องมากขึ้น
- มีจิตใจผ่องใส
ข้อดีทั้ง ๕ อย่างนี้จะเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ตั้งใจฟังธรรมและพินิจพิจารณาตามอย่างแน่นอน
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา