
โย จ สทฺทปฺปริตฺตาสี…….วเน วาตมิโค ยถา
ลหุจิตฺโตติ ตํ อาหุ…..นาสฺส สมฺปชฺชเต วตํ.
[คำอ่าน]
โย, จะ, สัด-ทับ-ปะ-ริด-ตา-สี…….วะ-เน, วา-ตะ-มิ-โค, ยะ-ถา
ละ-หุ-จิด-โต-ติ, ตัง, อา-หุ……นาด-สะ, สำ-ปัด-ชะ-เต, วะ-ตัง
[คำแปล]
“ผู้ใด มักหวาดสะดุ้งต่อเสียง เหมือนเนื้อทรายในป่า ท่านเรียกผู้นั้นว่า มีจิตเบา พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ.”
(อญฺญตรภิกฺขุ) สํ.ส. 15/296.
คนที่มีจิตเบา คือมีจิตไม่หนักแน่นมั่นคง เป็นคนหลุกหลิก สติน้อย สมาธิอ่อน ย่อมหวั่นไหวโอนเอียงไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบได้ง่าย บุคคลประเภทนี้หากจะบำเพ็ญภาวนาเพื่อความพ้นทุกข์ย่อมเป็นไปได้ยากนัก เพราะความเป็นผู้มีจิตใจไม่มั่นคงนั่นเอง
บุคคลประเภทนี้ย่อมไม่สามารถปฏิบัติกรรมฐานให้สำเร็จประโยชน์ได้ เพราะเป็นคนไม่เอาจริงเอาจัง ไขว้เขวง่าย เหนื่อยนิดลำบากหน่อยก็ย่อมจะล้มเลิกไป ห่างไกลจากความสำเร็จ
ผู้ที่ต้องการบำเพ็ญภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุอันได้แก่การปฏิบัติกรรมฐาน ทั้งในส่วนสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน จำเป็นจะต้องฝึกจิตใจของตนให้หนักแน่น เด็ดเดี่ยว มั่นคง ไม่ให้หวั่นไหวต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบก็ตาม ตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง เอาจริงเอาจังกับการปฏิบัติ
หากทำได้ดังนี้ จึงจะเป็นผู้ควรแก่การปฏิบัติ คือมีคุณสมบัติที่คู่ควรแก่กรรมฐาน สามารถปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานให้สำเร็จประโยชน์อันสูงสุดเข้าถึงพระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายได้.
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา