
สนฺติเมว สิกฺเขยฺย.
[คำอ่าน : สัน-ติ-เม-วะ, สิก-ไข-ยะ]
“พึงศึกษาความสงบนั่นแล”
(ม.อุป. ๑๔/๔๓๖)
สันติ คือ ความสงบ ได้แก่ ความสงบกาย ความสงบวาจา ความสงบใจ และความสงบอย่างยิ่งคือพระนิพพาน ผู้ที่จะสงบกาย วาจา ใจ ต้องเป็นผู้ที่รักษาศีลบริสุทธิ์ อีกทั้งต้องมีความเพียรที่เรียกว่า สัมมัปปธาน ๔ อย่าง คือ
- สังวรปธาน ความเพียรเพื่อระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
- ปหานปธาน ความเพียรเพื่อกำจัดบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
- ภาวนาปธาน ความเพียรเพื่อทำบุญกุศลให้เกิดมีขึ้น
- อนุรักขนาปธาน ความเพียรเพื่อรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อบุคคลมีความเพียรอย่างนี้ ย่อมจะสามารถดำเนินตามทางแห่งสันติ จนกระทั่งถึงความสงบอย่างยิ่งคือพระนิพพานได้
พุทธศาสนิกชน พึงศึกษาวิถีแห่งความสงบ คือแนวทางที่จะทำให้เกิดความสงบกาย วาจา ใจ ดังกล่าว ให้เข้าใจถ่องแท้ และปฏิบัติตามให้ได้ผลจริง จึงจะได้ชื่อว่า ดำเนินตามวิถีแห่งพระพุทธองค์
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา