
สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
สามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะที่เสมอกันของสังขารทั้งหลาย อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นตามธรรมดาของมัน คือทุกสิ่งทุกอย่างล้วนตกอยู่ในลักษณะเหล่านี้ทั้งหมด มี 3 ประการ ได้แก่
1. อนิจจตา
อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง หมายถึง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน คือ สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ล้วนต้องเป็นไปตามกฎของความไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วต้องเสื่อมสลายไปในที่สุด ไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิมได้
ลักษณะของอนิจจตามี 4 อย่าง คือ
1) เกิดขึ้นมาแล้วย่อมดับไป
2) แปรปรวนเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป ไม่คงที่
3) ตั้งอยู่เพียงชั่วคราว ไม่ถาวร
4) แย้งต่อนิจจัง คือขัดต่อความเที่ยงแท้
2. ทุกขตา
ทุกขตา ความเป็นทุกข์ คือ ความเป็นของที่ไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิมได้ เพราะถูกบีบคั้นจากอนิจจตาคือความเป็นของไม่เที่ยงนั่นเอง กล่าวคือ เมื่อสังขารทั้งหลายมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องเปลี่ยนสภาพไปเรื่อย ๆ คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ภาวะที่ถูกบีบบังคับให้คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้นี้ เรียกว่า ทุกขตา
ลักษณะของทุกขตา มี 4 ประการ คือ
1) ถูกบีบคั้นโดยการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
2) ทนได้ยาก คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
3) เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์
4) แย้งต่อความสุข คือขัดกับความสุข
3. อนัตตตา
อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน หมายถึง สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่มีความเป็นตัวตนที่แท้จริง เพราะเมื่อนำมาแยกส่วนออกแล้วก็พบแต่ความว่างเปล่า ไม่มีความเป็นสิ่งนั้น ๆ หลงเหลืออยู่ เช่น สิ่งที่เรียกว่า รถ เมื่อเราแยกส่วนประกอบต่าง ๆ ออกจากกัน นำล้อออกมา นำกระจกออกมา นำตัวถังออกมา นำส่วนประกอบทุกอย่างแยกออกมา สิ่งที่เรียกว่ารถก็ไม่เหลืออยู่ แต่ที่เราเรียกว่ารถ ก็เพราะนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาประกอบกันเข้าแล้วสมมติว่าเป็นรถ เป็นต้น
ลักษณะของอนัตตา มี 4 อย่าง คือ
1) เป็นสภาวะที่ว่างเปล่า คือหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เป็นแต่เพียงธาตุประกอบกันเข้าเท่านั้น
2) หาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครเป็นเจ้าของ
3) ไม่อยู่ในอำนาจ คือไม่สามารถบังคับให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามใจได้
4) แย้งต่ออัตตา
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ