
สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺยุํ.
[คำอ่าน : สะ-จิด-ตะ-ปะ-ริ-ยา-ยะ-กุ-สะ-ลา, พะ-ไว-ยุง]
“พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน”
(นัย- องฺ.ทสก. ๒๔/๑๐๐)
ธรรมชาติของจิตนั้น ก็เหมือนธรรมชาติของน้ำ น้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอ ฉันใด จิตของคนเราก็มีปกติไหลลงสู่อารมณ์ต่ำ ๆ อยู่เสมอ ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อรู้แล้วว่าจิตย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอเช่นนี้ เราควรเป็นผู้ฉลาด คือรู้ให้เท่าทันกระบวนการของจิต คือไม่ว่าจะนึกคิดอะไรก็ตาม ต้องรู้เท่าทัน อย่าปล่อยให้จิตนึกคิดไปในเรื่องที่ต่ำ ๆ ชั่วช้า ผิดศีลธรรม ต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ รู้ทันทีที่คิด และยับยั้งให้ทัน เมื่อเราทำได้ดังนี้ เราจะสามารถยับยั้งจิตที่คิดชั่วได้ และควบคุมจิตให้คิดแต่เรื่องที่ดี
เมื่อทำได้ดังนี้ จิตจะคิดแต่ในทิศทางที่ดี และสั่งการให้กายทำแต่สิ่งที่ดี ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญเข้ามาในชีวิตของเรา
แต่ถ้าเราไม่รู้เท่าทันกระบวนการของจิต มันจะคิดอะไรก็ปล่อยไป มันจะสั่งการให้ทำสิ่งใดก็ปล่อยไป ไม่ว่าดีหรือชั่วก็ทำตามที่จิตสั่งการ ไม่มีการกลั่นกรอง ไม่มีการควบคุม ก็จะถูกจิตสั่งการให้กระทำสิ่งที่ไม่ดี และรับผลที่ไม่ดีอันเกิดจากการกระทำนั้น สุดท้าย ย่อมจะได้รับความเดือดร้อนฉิบหายเพราะไม่ฉลาดในกระบวนจิตของตน
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา