
เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโญ โย ภาสิตสฺส วิชานาติ อตฺถํ.
[คำอ่าน : เอ-โก-วะ, ไส-โย, ปุ-ริ-โส, สะ-ปัน-โย, โย, พา-สิ-ตัด-สะ, วิ-ชา-นา-ติ, อัด-ถัง]
“ผู้มีปัญญา รู้เนื้อความแห่งภาษิต คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า”
(ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๓๒)
คนที่มีปัญญา รู้จักทางแห่งความเสื่อม รู้จักทางแห่งความเจริญ และรู้จักละทางเสื่อมเดินตามทางแห่งความเจริญ ย่อมเป็นที่ต้องการของทุก ๆ สังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมเล็กหรือสังคมใหญ่ก็ตาม
คนที่มีปัญญา จะสามารถพินิจพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ตามเหตุตามผล ตามความเป็นจริง เมื่อเกิดปัญหาขึ้น เขาย่อมสามารถมองปัญหาออก และสามารถคลี่คลายปัญหานั้นได้อย่างถูกต้องตรงจุด
คนที่มีปัญญา นอกจากจะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองได้แล้ว เขายังสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่น ๆ ในสังคมได้อีกด้วย และย่อมสามารถเป็นที่ปรึกษาให้คนอื่นได้ ย่อมสามารถชี้แนะแนวทางที่ดีและถูกต้องให้คนอื่นได้อย่างกระจ่างชัดเจน
ดังนั้น ในบรรดาบุคคลทั้งหลาย ผู้ที่มีปัญญาย่อมได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา