
อธุรายํ น ยุญฺชติ.
[คำอ่าน : อะ-ทุ-รา-ยัง, นะ, ยุน-ชะ-ติ]
“คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ”
(ขุ.ชา.เตรส. ๒๗/๓๕๕)
ทางอันไม่ใช่ธุระ หมายถึง สิ่งที่ไม่ควรทำ ได้แก่ กรรมทุจริตทั้งหลายนั่นเอง กรรมทุจริตทั้งหลายนั้น ถือเป็นกรรมชั่ว เมื่อให้ผลย่อมให้ผลในทางที่ชั่ว คือก่อความเดือดร้อนฉิบหายให้แก่ผู้กระทำ
ไม่มีเลยที่กรรมชั่วช้าลามกจะให้ผลในทางที่ดีแก่ผู้กระทำ มีแต่จะสร้างความฉิบหายวายวอดให้เท่านั้น คือสร้างความเดือดร้อนให้ทั้งแก่ผู้กระทำเอง และสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นด้วย
ผู้มีปัญญา เมื่อพิจารณาเห็นโทษของการกระทำทุจริตดังกล่าวแล้ว ย่อมงดเว้นจากการกระทำเช่นนั้นเสีย ด้วยมุ่งหวังประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นในสังคม
นอกจากเว้นจากการกระทำชั่วแล้ว ยังต้องหมั่นสร้างกุศลทั้งหลายให้เกิดขึ้นด้วย ซึ่งเป็นการดำเนินตามคำสอนแห่งพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ นั่นคือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม และการชำระจิตของตนให้ผ่องใส ทั้ง ๓ อย่างนี้ คือวิถีแห่งผู้มีปัญญา
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา