
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
[คำอ่าน : นะ, ทุก-คะ-ติง, คัด-ฉะ-ติ, ทำ-มะ-จา-รี]
“ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ”
(ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๙๐)
ทุคติ คือ อบายภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน เป็นที่ไปของบุคคลผู้ประพฤติชั่ว ทำตัวตามอำนาจของกิเลสตัณหา ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี เป็นสถานที่ปราศจากความสุขความเจริญ เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน
บุคคลผู้ประพฤติธรรม คือ ผู้ที่ละเว้นจากการทำบาปทั้งปวง หมั่นบำเพ็ญกุศลธรรม และชำระจิตของตนให้สะอาดผ่องแผ้วอยู่เสมอ ด้วยการเจริญพระกรรมฐาน หรือการน้อมนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นหลักยึดในการใช้ชีวิตประจำวัน
บุคคลผู้ประพฤติธรรมนั้น เมื่อมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ย่อมอยู่เพื่อความสุขความเจริญแห่งตนและคนรอบข้าง เพราะเป็นผู้มีจิตใจใสสะอาดปราศจากบาปอกุศล ทำแต่กรรมดี จึงไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น
เมื่อละจากโลกนี้ไป คือเมื่อตายไปแล้ว ก็ย่อมมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า จะไม่ไปสู่ทุคติเลย เพราะอานิสงส์แห่งการประพฤติธรรม จะทำให้เขาห่างไกลจากทุคติ มีสุคติเป็นที่หวัง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา