
ธมฺเม ฐิตํ วิชหาติ กิตฺติ.
[คำอ่าน : ทำ-เม, ถิ-ตัง, วิ-ชะ-หา-ติ, กิด-ติ]
“เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม”
(องฺ.ปญฺจก. ๒๓/๕๑)
เกียรติ คือ ความนิยมชมชอบจากคนอื่น การได้รับการยกย่องจากคนอื่น การเป็นที่รักของคนอื่น การได้รับการเคารพนับถือจากคนอื่น หรือการมีชื่อเสียงปรากฏ เกียรตินั้นมีอยู่ ๓ อย่าง คือ
- เกียรติคุณ คุณที่เลื่องลือ
- เกียรติยศ ยศถาบรรดาศักดิ์
- เกียรติศักดิ์ ฐานะที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม คือประพฤติธรรมอยู่เสมอ ย่อมได้รับเกียรติทั้ง ๓ ประการนี้ เพราะคุณงามความดีที่เกิดจากการประพฤติธรรมของเขานั่นเอง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว วิญญูชนทั้งหลาย ย่อมยกย่องสรรเสริญบุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ส่วนผู้ที่ละทิ้งธรรม คือผู้ไม่ดำรงตนอยู่ในหลักธรรมอันดีนั้น ย่อมจะเสื่อมจากเกียรติทั้ง ๓ ประการนั้น เพราะวิญญูชนทั้งหลาย ไม่ยกย่อง ไม่เสรรเสริญ และไม่เคารพนับถือบุคคลผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา