
ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ.
[คำอ่าน : ปัน-ทิ-โต, สี-ละ-สำ-ปัน-โน, ชะ-ลัง, อัก-คี-วะ, ภา-สะ-ติ]
“บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง”
(ที.ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒)
บัณฑิต คือ ผู้ที่มีความรอบรู้ มีปัญญาเฉลียวฉลาด ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นผู้รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ รู้ทางเสื่อม รู้ทางเจริญ อย่างนี้เรียกว่า บัณฑิต
ผู้ที่เป็นบัณฑิตนั้น ใช่ว่าจะมีความรู้แค่เพียงอย่างเดียวแล้วได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต แต่ต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี มีความประพฤติดี กิริยาเรียบร้อย ประพฤติตนอยู่ภายใต้หลักศีลธรรมและกฏหมายบ้านเมือง ละชั่วทำดี เว้นทางเสื่อม ดำเนินตามทางแห่งความเจริญ ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีอยู่ในสังคมใด สังคมนั้นย่อมเปรียบเหมือนสถานที่ที่มีไฟส่องสว่าง เพราะบัณฑิตเปรียบเหมือนแสงสว่างที่ส่องทางให้คนรอบข้างนั้นสามารถมองเห็นทางและเดินตรงทางถูกทางนั่นเอง
ดังนั้น เราควรคบค้าสมาคมกับบัณฑิต ขอคำแนะนำ และดำเนินตามวิถีที่บัณฑิตแนะนำ อันจะเป็นทางแห่งความสุขความเจริญแห่งชีวิต เมื่อยกระดับตนเองขึ้นสู่ความบัณฑิตได้แล้ว พึงรักษาสภาวะเช่นนั้น และแนะนำผู้อื่นเข้าสู่วิถีแห่งบัณฑิตต่อไป สังคมจะได้สงบเย็น เป็นสังคมที่เจริญด้วยบัณฑิตชนคนดีทั้งหลาย
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา