
อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
อาวาสิกธรรม คือ ธรรมของภิกษุผู้อยู่ประจำวัด แปลถือความมาใช้ให้เหมาะกับปัจจุบันว่า คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 2 ประเภทเป็นที่รักที่เคารพของสพรหมจารี คือ เพื่อนภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน มี 5 ประการ คือ
1. มีศีล
มีศีล ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส ต้องเป็นผู้รักษาศีลอย่างเคร่งครัด มีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์ มีความประพฤติเรียบร้อยดีงาม สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ภิกษุสามเณรภายในอาวาสได้ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย จึงจะเป็นที่เคารพรักของสพรหมจารีทั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต
เป็นพหูสูต ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก รู้หลักพระธรรมวินัย มีความรู้ความเข้าใจกว้างขวางลึกซึ้ง ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส ต้องเป็นผู้มีความรู้ในพระธรรมวินัยมาก สามารถอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรทั้งหลายผู้อยู่ในปกครองให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบได้ สามารถแสดงธรรมสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายได้
3. มีกัลยาณพจน์
มีกัลยาณพจน์ มีวาจางาม กล่าวกัลยาณพจน์ รู้จักพูด รู้จักเจรจาน่าศรัทธาและนำปัญญา ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส ต้องเป็นผู้มีวาจาน่าเลื่อมใส เพราะต้องติดต่อสื่อสารและเทศนาสั่งสอนคนทั้งหลายอยู่เนือง ๆ ทั้งภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาจากทุกทิศ การมีวาจาอันงดงาม มีวาทศาสตร์วาทศิลป์ ย่อมสามารถโน้มน้าวบุคคลทั้งหลายให้สนใจใฝ่ในธรรม สามารถสร้างประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาได้เป็นอันมาก
4. เป็นฌานลาภี
เป็นฌานลาภี ได้ฌาน แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส พึงพยายามบำเพ็ญสมณธรรม หมั่นปฏิบัติสมถกรรมฐาน พยายามทำให้ตนเป็นผู้ได้ฌาน เพราะเจ้าอาวาสผู้ได้ฌานย่อมเป็นที่เคารพรักของสพรหมจารีทั้งหลาย สามารถแนะนำสั่งสอนภิกษุสามเณรภายใต้ปกครองให้เชื่อฟังได้อย่างสนิทใจ
5. ประจักษ์แจ้งวิมุตติ
ประจักษ์แจ้งวิมุตติ บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะแล้ว ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส พึงปฏิบัติตนตามแนวทางแห่งอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ หมั่นบำเพ็ญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน พยายามทำลายกิเลสาสวะทั้งหลายให้หมดสิ้นไปจากจิตจากใจ เมื่อทำได้ดังนี้ ย่อมเป็นที่เคารพรักของสพรหมจารีทั้งหลาย
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ