
กเรยฺย โยคฺคํ ธุวมปฺปมตฺโต.
[คำอ่าน : กะ-ไร-ยะ, โยก-คัง, ทุ-วะ-มับ-ปะ-มัด-โต]
“ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่”
(ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๗๘)
คำว่า ไม่ประมาท หมายถึง ไม่หลงมัวเมาในกิเลสตัณหา ไม่หลงมัวเมาในวัย ในลาภยศสรรเสริญ เป็นต้น มีสติสัมปชัญญะพร้อมอยู่เสมอ อย่างนี้เรียกว่า ผู้ไม่ประมาท
ผู้ไม่ประมาทดังกล่าว พึงกระทำความเพียรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งความเพียรในที่นี้ หมายเอาความเพียรที่เป็นความเพียรชอบ หรือที่เรียกว่า สัมมัปปธาน 4 อย่าง คือ
- สังวรปธาน เพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน
- ปหานปธาน เพียรกำจัดบาปออกจากจิตจากใจ
- ภาวนาปธาน เพียรสร้างกุศลอบรมบารมี
- อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาคุณงามความดีให้คงอยู่ตลอดไป
ผู้ที่ประกอบด้วยความเพียรทั้ง 4 ประการดังกล่าวมาแล้วนี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ปรารภความเพียรอยู่เสมอ ชีวิตของเขาย่อมสามารถประสบกับความเจริญก้าวหน้าได้ทั้งในทางโลกและทางธรรม
อีกทั้งบุคคลทั้งหลายย่อมยกย่องสรรเสริญเขาในฐานะที่เป็นผู้ปรารภความเพียรและไม่ประมาท
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา