
ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺตํ ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย
[คำอ่าน : ยะ-ถา, ยะ-ถา, ยัด-ถะ, ละ-เพ-ถะ, อัด-ถัง, ตะ-ถา, ตะ-ถา, ตัด-ถะ, ปะ-รัก-กะ-ไม-ยะ]
“พึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใด ๆ ควรบากบั่นในที่นั้น ด้วยประการนั้น ๆ”
(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๗๐, ขุ.ชา.ปญฺจก. ๒๗/๑๘๐)
ธรรมดามนุษย์เรานี้เป็นผู้มีปัญญา มีความสามารถที่จะพิจารณาได้ว่า อยู่ที่ไหนจะได้ประโยชน์ หรือเราจะสามารถหาประโยชน์ได้จากที่ไหน
นอกจากนี้แล้วเรายังมีปัญญาที่จะสร้างสรรผลงานต่าง ๆ คือมีความสามารถในการประกอบการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและสังคม
เมื่อเรามีทั้งปัญญาและความสามารถเช่นนี้ เราควรใช้สองสิ่งนี้มารวมกันเพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและสังคมอย่างสูงสุด
ควรใช้ปัญญาประกอบความเพียรในสถานที่ที่เหมาะสม เรามีความสามารถในเรื่องใด ควรใช้ความสามารถนั้น ๆ ในสถานที่ที่เขาต้องการความสามารถเช่นนั้น
เรามีความสามารถเช่นใด เมื่อเราไปอยู่ในสถานที่ที่เขาต้องการคนมีความสามารถเช่นนั้น เราจะเป็นคนที่มีคุณค่า และเราจะสามารถใช้ความสามารถของเรานั้นหาเงินหรือสร้างประโยชน์ให้ตนได้อย่างมากมายเลยทีเดียว
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา